วัวลานบ้านหนองขาว

วัวลานบ้านหนองขาว การปลูกข้าวเป็นอาชีพหลักของคนไทยส่วนใหญ่ และชาวนาไทยทั่วไปได้มีการอาศัยแรงงานจากวัวไถคราดและงานอื่นๆ อีกมารกมาย นอกผืนนาแล้วนั้น เช่น งานนวดข้าวทำนาโดยใช้แรงงานจากวัวมานานถึงประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว เพราะวัวเป็นสัตว์ที่มีรูปร่างสันทัดแข็งแรง มีแรงมาก เชื่องฝึกง่าย และกินหญ้าและฟางข้าวได้โดยไม่ต้องซื้ออาหาร วัวที่ใช้งานส่วนใหญ่นั้นจะเป็นวัวตัวผู้ที่แข็งแรง และส่วนวัวตัวเมียนั้นจะเลี้ยงเอาไว้ขยายพันธุ์เท่านั้น แล้วขายลูกวัวเพื่อหารายได้การใช้งานวัวในช่วงสมัยก่อนของชาวบ้านนั้น วัวคู่หนึ่งจะสามารถไถนาได้เนื้อที่ประมาณ 20 ไร่ นอกจากใช้วัวไถนาแล้วก็จะมีการเล่นวัวลาน ซึ่งได้มีวิวัฒนาการมาจากการใช้วัวไถนาและนวดข้าว เพราะลักษระลานนวดข้าวนั้นจะเป็นวงกลมเป็นพื้นดินจะเป็นดินเหนียวที่อัดแน่นมาก ส่วนใหญ่ชาวนาทุกคนตะทาพื้นดินด้วยมูลวัวอีที่หนึ่ง วิธีการนวดข้าวนั้นชาวนาได้แยกเมล็ดข้าวออกจากรวง หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว โดยใช้แรงวัวนั้นมาเป็นเครื่องนวดข้าวชาวนาจะมีการผูกวัวแล้วเรียงกันเป็นแถวๆ หน้ากระดานไว้กับเสากลางลานบ้าน วัวที่อยู่ใกล้จุดกลางนั้นไม่ต้องใช้พละกำลังมาก เพราะอยู่ในการหมุนรอบสั้นวงเวียน เป็นรอบๆ และไปเรื่อยๆ จนกว่าข้าวนั้นจะหลุดออกจากรวงข้าวหมด ส่วนตัวที่อยู่นอกสุดห่างจุดศูนย์กลางระยะทางที่ต้องหมุนจะยาวกว่าจึงต้องเลือกวัวตัวที่มีพละกำลังและฝีเท้าที่แข็งแรงและดีด้วยเหตุนี้ เมื่อวัวหมุนรอบและเหยียบย่ำจนเมล็ดข้าวเปลือกหลุดออก จากรวงข้าวแล้ว เมล็ดข้าวเปลือกก็จะหล่นบนพื้นลานที่เตรียมเอาไว้ การนวดข้าวในลักษณะนี้จึงเกิดเป็นการละเล่นพื้นบ้านในเวลาต่อมานั่นก็คือ วัวลาซึ่งเป็นการประยุกต์การใช้วัวที่นวดข้าวมาเป็นการละเล่น

          วัวลานในปัจจุบัน

การเล่นวัวลานในปัจจุบันนิยมเล่นในงานวัด เพื่อหารายได้ให้ทางวัดและในท้องนา จะเริ่มเล่นกันประมาณ 22.00 – 8.00 น. ของวันรุ่งขึ้น วัวทั้งหมดจะวิ่งเป็นวงกลมรอบๆ ลาน ซึ่งมีสาวอยู่ตรงกลางจะมี 2 กลุ่มทั้งหมดมี 19 ตัว เรียกว่า วัวนอกกับวัวคาน วัวคานจะมี 18 ตัว (ตัวที่ 18 เรียกว่าตัวรอง) นำวัวคาน 18 ตัว มาผูกแล้วก็จะมีการต่อรองราคาเพราะความเห็นไม่ตรงกันของผู้ชมและเจ้าของเมื่อการต่อรองเสร็จสิ้นก็จะนำวัวนอก (ตัวที่ 19) มาผูกวิ่งเป็นวงนอกสุด (ซึ่งมีระยะทางวิ่งไกลมาก) หลังจากนั้นก็ปล่อยให้มันวิ่งแล้วก็ใช้เหล็กแหลมแทง มันเพื่อกระตุ้นพลังการแพ้ชนะ คือวัวนอกหมดแรงหรือวัวคานเชือกหลุดหรือวัวรองโดนวัวนอกแซงแล้วเบียดเข้ามาข้างในแทนตำแหน่งที่ 18 เป็นต้น

          การเตรียมความพร้อมของวัว

เจ้าของวัวจะนำวัวของตนเองมารวมกันแล้วต้อนขึ้น รถยนต์ ซึ่งเป็นรถบรรทุกวัว ไปยังสถานที่เล่นวัวลาน ตามที่นัดหมายซึ่งเรียกกันว่า “วัวลาน” ระหว่างทางก็จะมีการโหร้องอย่างสนุกสนาน เพื่อให้เกิดความครึกครื้นตัวอยู่ตรงกลางรถคนจะอยู่ที่ท้ายรถและด้านบนของหัวรถเมื่อไปถึงลานวัว เป็นเวลาที่พบค่ำเจ้าของวัวจะนำวัวลงจากรถบรรทุกนำไปผูกไว้ยัง “ราวผูกวัว” ซึ่งเป็นสถานที่ที่ผู้จัดให้มีการเล่นวัวลานเป็นผู้จัดเตรียมไว้ซึ่งก็จะอยู่ติดกับ “ลานวัว”

          สถานที่เล่นวัวลาน

สถานที่เล่นวัวลานคือ ผืนนาที่ร้างไม่มีการทำนา หรือลานที่ว่างโล่งเนื้อที่ประมาณ 350 ถึง 400 ตารางเมตร จุดศูนย์กลางที่ให้วัววิ่งจะมีเสาซึ่งเป็นหลักให้วัววิ่ง เรียกว่า “เสาเกียรติ” หรือ “เสาเกียด” ลานนวดข้าว ปักเสาเกลียดไว้ตรงกลาง

ประเพณีการวิ่งลานวัวเป็นที่นิยมของจังหวัดภาคกลาง ตะวันตก ได้แก่ ราชบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ เข้าใจว่ามูลเหตุที่มีการวิ่งวัวลานคงจะมาจากการที่เกษตรกร แต่ดั้งเดิมมีการลงแขกนวดข้าว โดยการให้วัวผูกกับหลักให้วิ่งไปรอบหลักเสาไม้รอบวงข้าวที่กองสุมไว้จึงได้มีผู้คิดนำเอาวิธีการนี้มาใช้และเพิ่มจำนวนวัวที่วิ่งแรกเริ่มเดิมทีก็นำเอาวัวมาวิ่งแข่งกัน เพื่อความสนุกสนานนิยมจัดการแข่งขันในบริเวณวัดต่อมาทางกรรมการวัดก็เกิดความคิดที่จะหาเงินเข้าวัดเพื่อก่อสร้างและบูรณะวัดโดยเรียกเก็บเงินจากเจ้าของวัวที่นำมาวิ่งตัวละ 5 – 10 บาท ชาวบ้านก็แข่งขันกันในการหาวัวเข้ามาวิ่งให้ได้มาก ที่สุดเพื่อต้องการเป็นผู้ชนะซึ่งจะได้รับรางวัล เป็นขันน้ำพานรองต่อมาได้มีการวิวัฒนาการเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2500 จึงได้มีผู้ริเริ่มเดิมพันการแข่งขันวิ่งวัวลานกันขึ้นต่อมาย้ายจากแข่งขันในวัดมาจัดการแข่งขันนอกวัดบ้างโดยชาวบ้านจัดเองการวิ่งวัวลานในปัจจุบันจะเริ่มฤดูการแข่งขันโดยเริ่มเมื่อนวดข้างเสร็จ คือประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคมส่วนมากกฎหมายอนุญาตให้มีการเล่นวัวลานเฉพาะในเวลากลางวันตั้วแต่ 6 โมงเช้าถึง 6 โมงเย็นแต่ที่ปรากฏจริงๆ นั้นถ้าจะดูวัวลานจะต้องไปดูตั้งแต่ 2 ทุ่มเป็นต้นไปยันย่ำรุ่ง ถ้าจะพิจารณาถึงความเป็นจริง การให้วัววิ่งตอนกลางวันนอกจากวัวและคนต้องตากแดดกันทั้งวันแล้ว คงจะไม่สนุกทั้งผู้ดูและผู้เล่นเป็นแน่ จึงได้อนุโลมกันมาโดยตลอดส่วนประกอบต่างๆ ในการแข่งขันวัวลานพอสังเขปดังนี้

สนามเล่น ประกอบด้วยลานดินมีลักษณะกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20 เมตร ตรงกลางจะมีเสาใหญ่ทำด้วยไม้เนื้อแข็งปักไว้อย่างมั่นคงที่สุดสำหรับผูกวัว ซึ่งเรียกเสาไม้นี้ว่า “เสาเกียด” ที่ดินสนามจะมีหอคอยสูงประมาณ 3 – 5 เมตรเพื่อให้คณะกรรมการและโฆษกของงานซึ่งไปนั่งสังเกตการณ์

การวิ่ง วัวที่เข้าวิ่งจะประกอบไปด้วย

วัวผูกหรือวัวพวง วัวผูกนี้ส่วนใหญ่ผู้จัดการแข่งขันจะจัดหามาเองโดยอาศัยการไหว้วานจากสมัครพรรคพวกและการวิ่งแต่ละครั้งจะต้องมีวัวผูกอย่างน้อย 19 ตัว

วัวสาม เป็นวัวที่ถูกถัดมาจากวัวพวง ซึ่งทางคณะกรรมการจะต้องเตรียมไว้เช่นกัน และจะต้องเลือกวัวที่มีฝีเท้าพอๆ กับวัวที่จัดแข่งขัน (วัวยืนและวัวติด) เพราะถ้าวัวสามวิ่งช้ากว่าวัวแข่ง จะดึงวัวยืนให้แพ้

วัวยืน และวัวติด วัวสองตัวนี้เป็นวัวที่เข้าแข่งขันตัวที่ยืนติดจากวัวสามเรียกว่าวัวยืนและตัวอยู่นอก สุดเรียกว่า วัวติด วัวยืน และวัวติดนี้อยู่ผู้ที่เป็นเจ้าของจะต้องมาจับฉลากกันวัวติดแล้วจึงวิ่งรอบเสาเกียด 3 รอบ

วิธีการผูกวัว จะต้องผู้ติดกับเชือกเส้นใหญ่ที่ผูกเป็นห่วงคล้องไว้กับเสาเกียดเรียกว่าเชือกพวงซึ่งจะผุกเข้ากับวัวพวง ติดตามด้วยวัวสามวัวยืนและตัวนอกสุดเป็นวัวติด ก่อนปล่อยวัวให้วิ่งจะต้องมีเจ้าหน้าที่คอยจับวัวให้วัวอยู่ในแถวตรงกันซึ่งผู้จับวัวนี้ชาวบ้านเรียกว่า “เชน” มีจำนวนประมาณ 10 – 15 คนในการแข่งขันแต่ละครั้งส่วนใหญ่จะเป็นเด็กหนุ่มวัยฉกรรจ์ซึ่งนำวัวพงกเชนนี้ทำงานโดยไม่ได้รับค่าจ้างแต่อย่างใด

 

เอกสารอ้างอิง

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี. (2559). เล่าเรื่องเมืองกาญจนบุรี.  กาญจนบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี.

 

Loading

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *