พิธีแห่ศาลตาเพชร ตำบลหนองโรง อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี

หมู่บ้านหนองกระจันทร์ ตำบลหนองโรง อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี มีพิธีกรรมที่ใช้สำหรับการบวงสรวง อ้อนวอน เสี่ยงทายของหมู่บ้าน คือ พิธีแห่ศาลตาเพชรเพื่อขอฝน โดยมีรายละเอียดในการทำพิธีดังต่อไปนี้ การทำนาของชาวบ้านหนองกระจันทร์ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับธรรมชาติ คือ ฝน ฝนจึงเป็นสิ่งที่ชาวนาต้องการมากที่สุดในหน้าทำนา ดังนั้นเมื่อได้เวลาไถดำแล้วแต่ปรากฏว่าฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ชาวนาจะมีประเพณีขอฝนซึ่งมักจะแตกต่างกันไปบ้างในท้องถิ่นต่างๆ สำหรับหมู่บ้านหนองกระจันทร์ก็จะมีพิธีการขอฝนที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง คือ พิธีแห่ศาลตาเพชร ซึ่งชาวบ้านจะทำพิธีนี้ในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี

Loading

Read more

ความเป็นมาของชุมชนบ้านแม่กระบุง

บ้านแม่กระบุงเป็นหมู่บ้านชาวยไทยเชื้อสายกระเหรี่ยงซึ่งเรียกตัวเองว่า ชาวกระเหรี่ยงมีประวัติมายาวนานกว่า 200 ปี เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2327 นายย่องคื้อ ได้อพยพครอบครัวมาจากบ้านลิ่นถิ่นในเขตอำเภอทองผาภูมิ เพื่อหาที่ทำกินแก่งใหม่ต่อมาเมื่อมีสมาชิกเพิ่มมากขึ้นในปี พ.ศ. 2420 ทางการได้แต่งตั้งให้นายตู้เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 ซึ่งขึ้นกับอำเภอเมืองกาญจนบุรี เมื่อนายตู้เกษียณ นายอ๊อดได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ใหญ่บ้านแทน จำนวนประชากรและจำนวนหมู่บ้านก็เพิ่มขึ้น ได้แก่ บ้านต่อเรือ

Loading

Read more

ปราชญ์ของชุมชนแห่งบ้านห้วยสะพาน

รักษาป่าไผ่พง              ลุงประยงค์  แก้วประดิษฐ์ ปราชญ์ชุมชนต้นคิด       สืบป่าสวยห้วยสะพาน “ป่าคือชีวิต” เป็นจุดเริ่มต้นของโครงการ ป่าชุมชนอันมีคุณค่าของชุมชนบ้านห้วยสะพาน อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี โดยการเริ่มจากพื้นที่เพียงไม่กี่ไร่แล้วขยายออกไปเรื่อยๆ จนเกิดสิ่งที่เกิดขึ้นจากป่าชุมชนมากมายไม่ว่าจะเป็นประเพณีไทย เช่น รำเหย่อย ร่อยพรรษา และที่สำคัญคือการเกิดเป็นกลุ่มอาชีพขึ้นในชุมชนมากกว่า 20 กลุ่ม ที่ทำให้คนในชุมชนอยู่กันอย่างมีความสุข มีรายได้เพื่อเลี้ยงครอบครัวและมีความเป็นอยู่ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

Loading

Read more

วัวลานบ้านหนองขาว

วัวลานบ้านหนองขาว การปลูกข้าวเป็นอาชีพหลักของคนไทยส่วนใหญ่ และชาวนาไทยทั่วไปได้มีการอาศัยแรงงานจากวัวไถคราดและงานอื่นๆ อีกมารกมาย นอกผืนนาแล้วนั้น เช่น งานนวดข้าวทำนาโดยใช้แรงงานจากวัวมานานถึงประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว เพราะวัวเป็นสัตว์ที่มีรูปร่างสันทัดแข็งแรง มีแรงมาก เชื่องฝึกง่าย และกินหญ้าและฟางข้าวได้โดยไม่ต้องซื้ออาหาร วัวที่ใช้งานส่วนใหญ่นั้นจะเป็นวัวตัวผู้ที่แข็งแรง และส่วนวัวตัวเมียนั้นจะเลี้ยงเอาไว้ขยายพันธุ์เท่านั้น แล้วขายลูกวัวเพื่อหารายได้การใช้งานวัวในช่วงสมัยก่อนของชาวบ้านนั้น วัวคู่หนึ่งจะสามารถไถนาได้เนื้อที่ประมาณ 20 ไร่ นอกจากใช้วัวไถนาแล้วก็จะมีการเล่นวัวลาน

Loading

Read more

คำขวัญจังหวัดกาญจนบุรี (ใหม่)

“เมืองขุนแผน แคว้นโบราณ ด่านเจดีย์ มณีเมืองกาญจน์ สะพานข้ามแม่น้ำแคว แหล่งแร่ น้ำตก มรดกโลกทุ่งใหญ่นเรศวร”  เป็นคำขวัญใหม่ ณ วันที่ 27 มีนาคม 2567  จากการประชุมคณะกรรมการ ร่วมภาครัฐ และเอกชน เพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ จังหวัดกาญจนบุรี (

Loading

Read more

พิธีบูชาดาวนพเคราะห์ วัดถาวรวราราม (วัดญวน) จังหวัดกาญจนบุรี

ความเป็นมา           งานพิธีบูชาดาวนพเคราะห์เป็นประเพณีที่สืบเนื่องมาจากพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน โดยเริ่มจัดขึ้นเมื่อตอนปลายสมัยเจ้าอาวาสองค์ที่ 2 คือ ท่านอธิการเหยี่ยวเค ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เดือนที่ 1 ระหว่างวัน 1 ค่ำไปถึง 30 ค่ำ ถ้าเป็นเดือนขาดให้นับเพียงช่วงใดช่วงหนึ่งถ้าพ้นกำหนดนี้ไปแล้วจะทำพิธีไม่ได้         การประกอบพิธี

Loading

Read more

โบราณสถานพงตึก

พงตึกหมู่บ้านนี้ตั้งอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลอง คำว่า พงตึก สันนิษฐานจากคำบอกเล่าว่าในสมัยก่อนที่ริมแม่น้ำบริเวณตลาดพงตึกมีฐานสิ่งก่อสร้างที่เป็นศิลาแลงมีลักษณะเป็นแนวยาว ท้ายผ่านของอาคารที่กว้างใหญ่อีกทั้งตลอดสองฝั่งแม่น้ำจะเต็มไปด้วยก่อพง ก่อหญ้ามากมาย จากข้อมูลเหล่านี้จึงเป็นที่มาของคำว่าพงตึก ส่วนเหตุผลอีกประกาณหนึ่งที่พอจะนำมาประกอบกันได้คือข้อความบางตอนจากหนังสือนิราศพระแท่นดงรัง ของสามเณรกลั่น กล่าวถึงที่มาของคำว่าพงตึก คือ ตึกพราหมณ์สันนิษฐานว่าอาจเป็นสถานที่ที่ใช้ประกอบพิธีทางศาสนาพราหมณ์ หรืออาจเป็นที่อาศัยของกลุ่มชนนับถือศาสนาพราหมณ์ที่เคยอาศัยอยู่บริเวณนี้โดยในประเด็นนี้เป็นการวิเคราะห์ของนักโบราณคดีที่ได้ศึกษาเปรียบเทียบจากอายุของโบราณสถาน โบราณวัตถุ ที่ค้นพบ ณ สถานที่แห่งนี้ การเป็นทางผ่านของเส้นทางคมนาคมจากหลักฐานของการค้นพบโบราณสถาน โบราณวัตถุพงตึกเมื่อวันที่ 15

Loading

Read more

เมืองกาญจนบุรีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินกลาง

จังหวัดกาญจนบุรีเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์มาตั้งแต่อดีต เป็นแหล่งที่มีมนุษย์เข่าอยู่อาศัยและตั้งถิ่นฐานมาเป็นเวลายาวนานตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน จากการค้นพบหลักฐานตามโบราณคดียุคหินกลาง อายุประมาณ 10,000 – 7,000 ปีมาแล้ว คณะนักวิชาการไทย-เดนมาร์กขุดพบโครงกระดูกของมนุษย์ยุคหินกลางที่ถ้ำพระ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. 2504 พบเครื่องมือหินกรวดเป็นจำนวนมาก และได้พบโครงกระดูกของผู้ใหญ่ 1 โครง นอนศีรษะหันไปทางทิศเหนือ ฝ่ามืออยู่ใต้คางแขนท่อนซ้าย วางพาดอก

Loading

Read more

ประวัติศาสตร์เมืองกาญจนบุรีสมัยยุคหินเก่า

          จังหวัดกาญจนบุรีเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์มาตั้งแต่อดีต เป็นแหล่งที่มีมนุษย์เข่าอยู่อาศัยและตั้งถิ่นฐานมาเป็นเวลายาวนานตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน จากการค้นพบหลักฐานตามโบราณคดีที่สำคัญของชาวฮอลันดา ชื่อ ดร.แวน ฮิกเกอเรน ซึ่งเป็นเชลยศึกฝ่ายสมัยพันธมิตรที่ถูกญี่ปุ่นนำมาก่อสร้างทางรถไฟอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรีในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ได้พบเครื่องือหิน ที่ริมฝั่งแม่น้ำแควน้อยใกล้สถานีรถไฟบ้านเก่าห่างจากตัวเมืองกาญจนบุรีไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 35 กิโลเมตร หลังสงครามเสร็จสิ้นแล้วได้นำเครื่องมือหินที่เก็บได้ไปตรวจสอบหาหลักฐานที่พิพิธภัณฑ์พีบอดี้มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดสหรัฐอเมริกาทำให้ทราบว่าส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือยุคหินเก่า และเรียกเครื่องมืออื่นที่พบนี้ว่าวัฒนธรรมแควน้อยโดยใช้ชื่อแหล่งที่พบตามลำน้ำแควน้อยที่บ้านเก่า ตำบลจระเข้เผือก (ปัจจุบันคือตำบลบ้านเก่า) จังหวัดกาญจนบุรีแต่เรียกเพี้ยนไปว่า เฟงน้อยหรือฟิงนอง  ซึ่งยุคหินเก่าเมืองกาญจนบุรีมีอายุประมาณ

Loading

Read more

“ปากแพรก” กาญจนบุรี

นอกจากชีวิตการค้าขายที่เป็นวิถีชีวิตในการสร้างรายได้ในหมู่ชาวจีน และชาติพันธุ์อื่นๆ เขามีวิธีการทำมาหากินกันอย่างไร ในบทความเรื่อง “ปากแพร” ซึ่งตีพิมพ์ในอนุสาร อ.ส.ท. พ.ศ. 2513 บรรยายภาพการทำมาหากินในย่านปากแพรกยามรุ่งอรุณเอาไว้ดังนี้ “ทุกๆ เช้า ประมาณ 08.00 นาฬิกา จะมีเรือบรรทุกสินค้านานาชนิดและผู้คนมาจากแควน้อยและแควใหญ่มาขึ้น ณ ท่าหน้าเมือง สินค้าส่วนมากเป็นสินค้าพื้นเมืองจำพวกผลไม้ตามฤดูกาล เช่น

Loading

Read more