โบราณสถานพงตึก
พงตึกหมู่บ้านนี้ตั้งอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลอง คำว่า พงตึก สันนิษฐานจากคำบอกเล่าว่าในสมัยก่อนที่ริมแม่น้ำบริเวณตลาดพงตึกมีฐานสิ่งก่อสร้างที่เป็นศิลาแลงมีลักษณะเป็นแนวยาว ท้ายผ่านของอาคารที่กว้างใหญ่อีกทั้งตลอดสองฝั่งแม่น้ำจะเต็มไปด้วยก่อพง ก่อหญ้ามากมาย จากข้อมูลเหล่านี้จึงเป็นที่มาของคำว่าพงตึก ส่วนเหตุผลอีกประกาณหนึ่งที่พอจะนำมาประกอบกันได้คือข้อความบางตอนจากหนังสือนิราศพระแท่นดงรัง ของสามเณรกลั่น กล่าวถึงที่มาของคำว่าพงตึก คือ ตึกพราหมณ์สันนิษฐานว่าอาจเป็นสถานที่ที่ใช้ประกอบพิธีทางศาสนาพราหมณ์ หรืออาจเป็นที่อาศัยของกลุ่มชนนับถือศาสนาพราหมณ์ที่เคยอาศัยอยู่บริเวณนี้โดยในประเด็นนี้เป็นการวิเคราะห์ของนักโบราณคดีที่ได้ศึกษาเปรียบเทียบจากอายุของโบราณสถาน โบราณวัตถุ ที่ค้นพบ ณ สถานที่แห่งนี้ การเป็นทางผ่านของเส้นทางคมนาคมจากหลักฐานของการค้นพบโบราณสถาน โบราณวัตถุพงตึกเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2470 เป็นแนวทางให้นักโบราณคดีสามารถสันนิษฐาน ถึงความเป็นมาของสถานที่แห่งนี้ คือ หมู่บ้านพงตึก เริ่มเป็นแหล่งชุมชนสมัยประวัติศาสตร์เนื่องจากตั้งอยู่ในบริเวณเส้นทางคมนาคมติดต่อระหว่างดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยากับดินแดนพม่าใช้สำหรับเดินทางไปมาและค้าขาย พ่อค้าที่เดินทางมาจากยุโรปและอินเดียที่จะเดินทางต่อไปค้าขายประเทศจีนที่ไม่ต้องการอ้อมแหลมมลายูก็จะมาขึ้นบกที่ฝั่งพม่าแล้วเดินทางโดยเส้นทางนี้จะผ่านผงตึกก่อนไปถึงแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อมาลงเรือที่อ่าวไทย
โบราณสถานที่ขุดพบที่บ้านพงตึก
นักโบราณคดีคนแรกที่เข้ามาทำการสำรวจโดยทำแผนที่และทำการตกลงกับเจ้าจองพื้นที่ คือ ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ส่วนหัวหน้าสำรวจขุดค้นเป็นสถาปนิกแผนกโบราณคดีชื่อ มร.ซกิเนอร์ แมนเฟรดิ เริ่มทำงานเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2470 ได้ผลคือในสถานที่นี้เรียกว่า บ้านนายมา พบซากอาคารเล็กๆ สองแห่ง แห่งหนึ่งมีฐานเป็นรูสี่เหลี่ยมจัตุรัส ก้าวด้านละ 6 เมตร ตรงกลางมีฐานประติมากรรมขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ส่วนตัวอาคารเดิมคงประดับด้วยลวดลายปูนปั้นที่สวยงามเพราะพี่แท่งศิลาแลงส่วนใหญ่มีลวดลายปูนปั้นค่อนข้างหนาปกคลุมอยู่เป็นลวดลายอย่างสุดฝีมือ ส่วนลวดลายปูนปั้นที่ดีที่สุด ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติและมีชิ้นใหญ่ๆ ที่พบมีลักษณะเป็นกรวย สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นยอดอาคาร
ระฆังหิน มีลักษณะเป็นแผ่นหินปูนขนาดใหญ่แบบเจาะรูตรงกลาง ขุดพบที่โบราณสถานพงตึกซึ่งอยู่ในสมัยเดียวกับพระปฐมเจดีย์องค์เดิม ตะเกียงโรมันสำริด สูง 27 เซนติเมตร พบที่ตำบลพงตึก อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ตะพเกียงมีฝาปิดเปิด หล่อเป็นรูปพระพักต์เทพพระเจ้าซิเลนัสของโรมัน ด้ามหล่อเป็นใบปาล์ม และปลาโลมา 2 ตัว หันหน้าเข้าชนกันตะเกียงนี้อาจหล่อขึ้นที่เมืองอเลซานเดรีย ประเทศอิยิปต์ เมื่ออยู่ภายใต้การปกครองของโรมัน ราวก่อนพุทธศตวรรษที่ 6 หรืออาจหล่อขึ้นราวมพุทธศตวรรษที่ 9 – 10 และคงเป็นของที่พ่อค้าชาวอินเดียได้นำเข้ามาในประเทศไทย พบชิ้นเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันตะเกียงจัดแสดงอยู่ที่ห้องศิลปะเอเชีย อาคารมหาสุมรหนาท พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ
พระยารานณ์สี่กรศิลาเป็นรูปพระนารายณ์สี่กรทรงสังข์ จักรธรณีหรือดอกบังและภาษาตามแบบอินเดียแต่เดิมที่พักเกศาทำเป็นรูปดอกบัวแทนที่จะสวมหมวกทรงกระบอกอย่างรูปพระนารายณ์รุ่นเก่าองค์อื่นๆ อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 – 14 ขุดพบที่โบราณสถานพงตึก