เมืองกาญจนบุรีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินกลาง
จังหวัดกาญจนบุรีเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์มาตั้งแต่อดีต เป็นแหล่งที่มีมนุษย์เข่าอยู่อาศัยและตั้งถิ่นฐานมาเป็นเวลายาวนานตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน จากการค้นพบหลักฐานตามโบราณคดียุคหินกลาง อายุประมาณ 10,000 – 7,000 ปีมาแล้ว คณะนักวิชาการไทย-เดนมาร์กขุดพบโครงกระดูกของมนุษย์ยุคหินกลางที่ถ้ำพระ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. 2504 พบเครื่องมือหินกรวดเป็นจำนวนมาก และได้พบโครงกระดูกของผู้ใหญ่ 1 โครง นอนศีรษะหันไปทางทิศเหนือ ฝ่ามืออยู่ใต้คางแขนท่อนซ้าย วางพาดอก ที่บริเวณส่วนบนของร่างกายและบริเวณทรวงอกมีหินคอวทซ์ไซท์ ก้อนใหญ่วางทับอยู่ตอนเหนือศีรษะมีดินสีแดงโรยอยู่ แสดงว่ามีพิธีกรรมเกี่ยวกับการฝังศพ สันนิษฐานว่า คนสมัยหินกลางมีความเชื่อเรื่องเลือดและชีวิต โดยใช้ฝุ่นสีแดงโรยศพผู้ตายเป็นการให้เลือดและกำลังแก่ผู้ตาย แล้วจะกลับฟื้นขึ้นมาใหม่ นอกจากนี้ยังพบกระดูกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมวางอยู่บนทรวงอกเปลือกหอยกาบวางอยู่บนร่างที่บนแขนขวา มีเปลือกหอยทะเลอยู่ 2 ชิ้น เป็นที่น่าแปลก เปลือกหอยทะเลคู่นี้มาได้อย่างไรจัดว่าโครงกระดูกคนสมัยหินกลางโครงนี้เป็นกระดูกที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในประเทศไทย ปัจจุบันโครงกระดูกนี้ถูกส่งกลับมาจากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ โคเปนเฮเกนมาเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ก่อนประวัติศาสตร์ โณงพยาบาลศิริราช กรุงเทพฯ
แหล่งที่พบหลักฐานเกี่ยวกับมนุษย์สมัยหินกลาง ที่กาญจนบุรี มีดังนี้
- บริเวณบ้านเก่า ตำบลจระเข้เผือก (ปัจจุบันคือตำบลบ้านเก่า) อำเภอเมืองกาญจนบุรี
- ถ้ำใกล้สถานีไฟวังไพ อำเภอไทรโยค
- ถ้ำจันเด ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ
- บริเวณบ้านท่ามะนาว อำเภอเมืองกาญจนบุรี
- ถ้ำองบะ อำเภอศรีสวัสดิ์
- บริเวณถ้ำเม่น ถ้ำเขาทะลุ ถ้ำเพชรคูหา ตำบลจระเข้เผือก (ปัจจุบันคือตำบลบ้านเก่า) อำเภอเมืองกาญจนบุรี
- ถ้ำพระขอม อำเภอไทรโยค