พิธีบูชาดาวนพเคราะห์ วัดถาวรวราราม (วัดญวน) จังหวัดกาญจนบุรี
ความเป็นมา งานพิธีบูชาดาวนพเคราะห์เป็นประเพณีที่สืบเนื่องมาจากพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน โดยเริ่มจัดขึ้นเมื่อตอนปลายสมัยเจ้าอาวาสองค์ที่ 2 คือ ท่านอธิการเหยี่ยวเค ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เดือนที่ 1 ระหว่างวัน 1 ค่ำไปถึง 30 ค่ำ ถ้าเป็นเดือนขาดให้นับเพียงช่วงใดช่วงหนึ่งถ้าพ้นกำหนดนี้ไปแล้วจะทำพิธีไม่ได้ การประกอบพิธี
โบราณสถานพงตึก
พงตึกหมู่บ้านนี้ตั้งอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลอง คำว่า พงตึก สันนิษฐานจากคำบอกเล่าว่าในสมัยก่อนที่ริมแม่น้ำบริเวณตลาดพงตึกมีฐานสิ่งก่อสร้างที่เป็นศิลาแลงมีลักษณะเป็นแนวยาว ท้ายผ่านของอาคารที่กว้างใหญ่อีกทั้งตลอดสองฝั่งแม่น้ำจะเต็มไปด้วยก่อพง ก่อหญ้ามากมาย จากข้อมูลเหล่านี้จึงเป็นที่มาของคำว่าพงตึก ส่วนเหตุผลอีกประกาณหนึ่งที่พอจะนำมาประกอบกันได้คือข้อความบางตอนจากหนังสือนิราศพระแท่นดงรัง ของสามเณรกลั่น กล่าวถึงที่มาของคำว่าพงตึก คือ ตึกพราหมณ์สันนิษฐานว่าอาจเป็นสถานที่ที่ใช้ประกอบพิธีทางศาสนาพราหมณ์ หรืออาจเป็นที่อาศัยของกลุ่มชนนับถือศาสนาพราหมณ์ที่เคยอาศัยอยู่บริเวณนี้โดยในประเด็นนี้เป็นการวิเคราะห์ของนักโบราณคดีที่ได้ศึกษาเปรียบเทียบจากอายุของโบราณสถาน โบราณวัตถุ ที่ค้นพบ ณ สถานที่แห่งนี้ การเป็นทางผ่านของเส้นทางคมนาคมจากหลักฐานของการค้นพบโบราณสถาน โบราณวัตถุพงตึกเมื่อวันที่ 15
เมืองกาญจนบุรีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินกลาง
จังหวัดกาญจนบุรีเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์มาตั้งแต่อดีต เป็นแหล่งที่มีมนุษย์เข่าอยู่อาศัยและตั้งถิ่นฐานมาเป็นเวลายาวนานตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน จากการค้นพบหลักฐานตามโบราณคดียุคหินกลาง อายุประมาณ 10,000 – 7,000 ปีมาแล้ว คณะนักวิชาการไทย-เดนมาร์กขุดพบโครงกระดูกของมนุษย์ยุคหินกลางที่ถ้ำพระ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. 2504 พบเครื่องมือหินกรวดเป็นจำนวนมาก และได้พบโครงกระดูกของผู้ใหญ่ 1 โครง นอนศีรษะหันไปทางทิศเหนือ ฝ่ามืออยู่ใต้คางแขนท่อนซ้าย วางพาดอก
ประวัติศาสตร์เมืองกาญจนบุรีสมัยยุคหินเก่า
จังหวัดกาญจนบุรีเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์มาตั้งแต่อดีต เป็นแหล่งที่มีมนุษย์เข่าอยู่อาศัยและตั้งถิ่นฐานมาเป็นเวลายาวนานตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน จากการค้นพบหลักฐานตามโบราณคดีที่สำคัญของชาวฮอลันดา ชื่อ ดร.แวน ฮิกเกอเรน ซึ่งเป็นเชลยศึกฝ่ายสมัยพันธมิตรที่ถูกญี่ปุ่นนำมาก่อสร้างทางรถไฟอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรีในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ได้พบเครื่องือหิน ที่ริมฝั่งแม่น้ำแควน้อยใกล้สถานีรถไฟบ้านเก่าห่างจากตัวเมืองกาญจนบุรีไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 35 กิโลเมตร หลังสงครามเสร็จสิ้นแล้วได้นำเครื่องมือหินที่เก็บได้ไปตรวจสอบหาหลักฐานที่พิพิธภัณฑ์พีบอดี้มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดสหรัฐอเมริกาทำให้ทราบว่าส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือยุคหินเก่า และเรียกเครื่องมืออื่นที่พบนี้ว่าวัฒนธรรมแควน้อยโดยใช้ชื่อแหล่งที่พบตามลำน้ำแควน้อยที่บ้านเก่า ตำบลจระเข้เผือก (ปัจจุบันคือตำบลบ้านเก่า) จังหวัดกาญจนบุรีแต่เรียกเพี้ยนไปว่า เฟงน้อยหรือฟิงนอง ซึ่งยุคหินเก่าเมืองกาญจนบุรีมีอายุประมาณ
“ปากแพรก” กาญจนบุรี
นอกจากชีวิตการค้าขายที่เป็นวิถีชีวิตในการสร้างรายได้ในหมู่ชาวจีน และชาติพันธุ์อื่นๆ เขามีวิธีการทำมาหากินกันอย่างไร ในบทความเรื่อง “ปากแพร” ซึ่งตีพิมพ์ในอนุสาร อ.ส.ท. พ.ศ. 2513 บรรยายภาพการทำมาหากินในย่านปากแพรกยามรุ่งอรุณเอาไว้ดังนี้ “ทุกๆ เช้า ประมาณ 08.00 นาฬิกา จะมีเรือบรรทุกสินค้านานาชนิดและผู้คนมาจากแควน้อยและแควใหญ่มาขึ้น ณ ท่าหน้าเมือง สินค้าส่วนมากเป็นสินค้าพื้นเมืองจำพวกผลไม้ตามฤดูกาล เช่น
หมวดหมู่
- Uncategorized (1)
- กลุ่มองค์กรประชาชน (2)
- การบริการวิชาการแก่สังคม (1)
- การศึกษา (9)
- การเมืองกาปกครอง (5)
- ข้อมูลท้องถิ่น (35)
- ข่าวประชาสัมพันธ์ (10)
- บุคคลสำคัญ/ปราชญ์ชาวบ้าน (8)
- ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น (33)
- ประเพณีและวัฒนธรรม (25)
- ภูมิปัญญาชาวบ้าน (9)
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (1)
- เกษตรกรรม (3)
- เศรษฐกิจและอุตสาหกรรม (7)
- แหล่งท่องเที่ยว (8)
- โบราณสถานวัตถุ (14)
วีดีโอ-rLOCAL
เรื่องเก่าชาวห้วยสะพาน เล่าขานประเภณี
นวัตกรรมเครื่องออกกำลังกายเทศบาลตำบลท่าไม้กาญจนบุรี