พิธีแห่ศาลตาเพชร ตำบลหนองโรง อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
หมู่บ้านหนองกระจันทร์ ตำบลหนองโรง อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี มีพิธีกรรมที่ใช้สำหรับการบวงสรวง อ้อนวอน เสี่ยงทายของหมู่บ้าน คือ พิธีแห่ศาลตาเพชรเพื่อขอฝน โดยมีรายละเอียดในการทำพิธีดังต่อไปนี้ การทำนาของชาวบ้านหนองกระจันทร์ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับธรรมชาติ คือ ฝน ฝนจึงเป็นสิ่งที่ชาวนาต้องการมากที่สุดในหน้าทำนา ดังนั้นเมื่อได้เวลาไถดำแล้วแต่ปรากฏว่าฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ชาวนาจะมีประเพณีขอฝนซึ่งมักจะแตกต่างกันไปบ้างในท้องถิ่นต่างๆ สำหรับหมู่บ้านหนองกระจันทร์ก็จะมีพิธีการขอฝนที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง คือ พิธีแห่ศาลตาเพชร ซึ่งชาวบ้านจะทำพิธีนี้ในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี
ความเป็นมาของชุมชนบ้านแม่กระบุง
บ้านแม่กระบุงเป็นหมู่บ้านชาวยไทยเชื้อสายกระเหรี่ยงซึ่งเรียกตัวเองว่า ชาวกระเหรี่ยงมีประวัติมายาวนานกว่า 200 ปี เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2327 นายย่องคื้อ ได้อพยพครอบครัวมาจากบ้านลิ่นถิ่นในเขตอำเภอทองผาภูมิ เพื่อหาที่ทำกินแก่งใหม่ต่อมาเมื่อมีสมาชิกเพิ่มมากขึ้นในปี พ.ศ. 2420 ทางการได้แต่งตั้งให้นายตู้เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 ซึ่งขึ้นกับอำเภอเมืองกาญจนบุรี เมื่อนายตู้เกษียณ นายอ๊อดได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ใหญ่บ้านแทน จำนวนประชากรและจำนวนหมู่บ้านก็เพิ่มขึ้น ได้แก่ บ้านต่อเรือ
ปราชญ์ของชุมชนแห่งบ้านห้วยสะพาน
รักษาป่าไผ่พง ลุงประยงค์ แก้วประดิษฐ์ ปราชญ์ชุมชนต้นคิด สืบป่าสวยห้วยสะพาน “ป่าคือชีวิต” เป็นจุดเริ่มต้นของโครงการ ป่าชุมชนอันมีคุณค่าของชุมชนบ้านห้วยสะพาน อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี โดยการเริ่มจากพื้นที่เพียงไม่กี่ไร่แล้วขยายออกไปเรื่อยๆ จนเกิดสิ่งที่เกิดขึ้นจากป่าชุมชนมากมายไม่ว่าจะเป็นประเพณีไทย เช่น รำเหย่อย ร่อยพรรษา และที่สำคัญคือการเกิดเป็นกลุ่มอาชีพขึ้นในชุมชนมากกว่า 20 กลุ่ม ที่ทำให้คนในชุมชนอยู่กันอย่างมีความสุข มีรายได้เพื่อเลี้ยงครอบครัวและมีความเป็นอยู่ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
วัวลานบ้านหนองขาว
วัวลานบ้านหนองขาว การปลูกข้าวเป็นอาชีพหลักของคนไทยส่วนใหญ่ และชาวนาไทยทั่วไปได้มีการอาศัยแรงงานจากวัวไถคราดและงานอื่นๆ อีกมารกมาย นอกผืนนาแล้วนั้น เช่น งานนวดข้าวทำนาโดยใช้แรงงานจากวัวมานานถึงประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว เพราะวัวเป็นสัตว์ที่มีรูปร่างสันทัดแข็งแรง มีแรงมาก เชื่องฝึกง่าย และกินหญ้าและฟางข้าวได้โดยไม่ต้องซื้ออาหาร วัวที่ใช้งานส่วนใหญ่นั้นจะเป็นวัวตัวผู้ที่แข็งแรง และส่วนวัวตัวเมียนั้นจะเลี้ยงเอาไว้ขยายพันธุ์เท่านั้น แล้วขายลูกวัวเพื่อหารายได้การใช้งานวัวในช่วงสมัยก่อนของชาวบ้านนั้น วัวคู่หนึ่งจะสามารถไถนาได้เนื้อที่ประมาณ 20 ไร่ นอกจากใช้วัวไถนาแล้วก็จะมีการเล่นวัวลาน
พิธีบูชาดาวนพเคราะห์ วัดถาวรวราราม (วัดญวน) จังหวัดกาญจนบุรี
ความเป็นมา งานพิธีบูชาดาวนพเคราะห์เป็นประเพณีที่สืบเนื่องมาจากพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน โดยเริ่มจัดขึ้นเมื่อตอนปลายสมัยเจ้าอาวาสองค์ที่ 2 คือ ท่านอธิการเหยี่ยวเค ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เดือนที่ 1 ระหว่างวัน 1 ค่ำไปถึง 30 ค่ำ ถ้าเป็นเดือนขาดให้นับเพียงช่วงใดช่วงหนึ่งถ้าพ้นกำหนดนี้ไปแล้วจะทำพิธีไม่ได้ การประกอบพิธี
หมวดหมู่
- Uncategorized (1)
- กลุ่มองค์กรประชาชน (2)
- การบริการวิชาการแก่สังคม (1)
- การศึกษา (9)
- การเมืองกาปกครอง (5)
- ข้อมูลท้องถิ่น (38)
- ข่าวประชาสัมพันธ์ (11)
- บุคคลสำคัญ/ปราชญ์ชาวบ้าน (9)
- ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น (34)
- ประเพณีและวัฒนธรรม (28)
- ภูมิปัญญาชาวบ้าน (13)
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (1)
- เกษตรกรรม (3)
- เศรษฐกิจและอุตสาหกรรม (7)
- แหล่งท่องเที่ยว (9)
- โบราณสถานวัตถุ (14)
วีดีโอ-rLOCAL
เรื่องเก่าชาวห้วยสะพาน เล่าขานประเภณี
นวัตกรรมเครื่องออกกำลังกายเทศบาลตำบลท่าไม้กาญจนบุรี