โรงเรียนวัดทุ่งมะกรูด ต.ดอนชะเอม อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี

โรงเรียนวัดทุ่งมะกรูด ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2481 ตั้งอยู่ในเขต หมูที่ 4 หมู่บ้านทุ่งมะกรูด ต.ดอนชะเอม อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี โดยชุมชนชาวบ้านทุ่งมะกรูดเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งขึ้นด้วยงบประมาณของชุมชน เป็นอาคารชั่วคราว ต่อมาทางราชการได้จัดสรรงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนถาวรขึ้น จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นแบบสหศึกษาตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ดังนี้

พุทธศักราช 2481 เปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – ประถมศึกษาปีที่ 4

พุทธศักราช 2509 เปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – ประถมศึกษาปีที่ 6

พุทธศักราช 2540 เปิดสอนชั้นอนุบาล 1-2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6

เขตบริการของโรงเรียนวัดทุ่งมะกรูด ประกอบด้วย เขตพื้นที่การปกครอง หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 8 และหมู่ที่ 9 ต.ดอนชะเอม อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี

ประชากร ประชากรในเขตบริการ ของโรงเรียนวัดทุ่งมะกรูด มีประชากร รวมทั้งสิ้นประมาณ 2,257 คน แยกเป็นชาย จานวน 1,265 คน และหญิง จานวน 1,072 คน โดยมีประชากรวัยเรียน (อายุ 3- 12 ปี) ที่อาศัยอยู่ในเขตบริการ จานวน 172 คน

ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศที่ตั้งของโรงเรียนวัดทุ่งมะกรูด สามารถสรุปโดยสังเขป ได้ดังนี้

1.1 โรงเรียนวัดทุ่งมะกรูด ตั้งอยู่ถนนสายตะคร้ำเอน – ท่าไม้ ตาบลดอนชะเอม
อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี รหัสไปรษณีย์ 71130 สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2

1.2 เปิดสอนตั้งแต่ ระดับปฐมวัย ถึง ระดับประถมศึกษา

1.3 มีเขตพื้นที่บริการ หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 8 และหมู่ที่ 9 ต.ดอนชะเอม อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี

การคมนาคมขนส่ง ในเขตบริการของโรงเรียนวัดทุ่งมะกรูด มีเส้นทางคมนาคมทางรถยนต์ ตัดผ่านหน้าโรงเรียน ปัจจุบันนับว่า สะดวกและรวดเร็วเนื่องจากมีโครงข่ายการคมนาคมสะดวกและรวดเร็ว ซึ่งประกอบด้วย ถนนสายตะคร้ำเอน – ท่าไม้ เชื่อมต่อถนนสายหลักคือถนนแสงชูโต

การเศรษฐกิจ สภาพเศรษฐกิจโดยรวมของพื้นที่ภายในเขตบริการของโรงเรียน
วัดทุ่งมะกรูด ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับภาคเกษตรกรรมเป็นหลักประกอบด้วยการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ พืชเศรษฐกิจ ที่ทารายได้เข้าหมู่บ้าน ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด อ้อยเป็นต้น ส่วนการเลี้ยงสัตว์ได้แก่ การเลี้ยงวัวเนื้อ วัวนม การเลี้ยงไก่ และการเลี้ยงสุกร

การสาธารณสุข ในเขตบริการของโรงเรียนวัดทุ่งมะกรูด มีจานวนสถานบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขดังนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ต.ดอนชะเอม 1 แห่ง โรงพยาบาลมะการักษ์ อ.ท่ามะกา 1 แห่ง

ภารกิจของโรงเรียนวัดทุ่งมะกรูด

โรงเรียนวัดทุ่งมะกรูด ได้ดาเนินการภารกิจหลักของการจัดการศึกษา ตามหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนวัดทุ่งมะกรูด พุทธศักราช 2544 ระดับประถมศึกษา และระดับก่อนประถมศึกษา ตามแนวของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และปรับปรุงครั้งสุดท้าย 2561 เปิดการเรียนการสอนอยู่ 2 ระดับ ได้แก่ ระดับก่อนประถมศึกษา อนุบาล 1-3 และระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 โดยจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กนักเรียนของชุมชนในเขตบริการ ได้แก่

ระดับก่อนประถมศึกษา เพื่อให้นักเรียนในวัยนี้ได้รับการพัฒนาทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เต็มตามศักยภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความพร้อมในการเข้าเรียนระดับประถมศึกษาอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน

ระดับประถมศึกษา เพื่อให้นักเรียนในวัยการศึกษาภาคบังคับทกคนเขตบริการ ได้เรียนจบหลักสูตรให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์และเป้าหมายของการจัดการศึกษา จึงได้กาหนดแนวทางในการจัดการศึกษาในปีงบประมาณ 2565 ไว้ดังนี้

  1. เร่งรัดการปฏิรูปการเรียนรู้ โดยยึดผู้เรียนเป็นสาคัญ เน้นพลังความคิดสร้างสรรค์ การสร้างนิสัยรักการอ่าน การใช้ห้องสมุด การใช้สื่อต่าง ๆ และเทคโนโลยีที่ช่วยในการเรียนรู้ตลอดทั้งพัฒนาการของผู้เรียนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง โดยเน้นการนิเทศภายในอย่างเป็นระบบ
  2. ปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและงานวิชาการโรงเรียน พุทธศักราช 2554 และ 2561 ตามแนวหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
  3. การจัดการศึกษาเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ ปลูกฝังให้นักเรียนเกิดคุณลักษณะการดารงชีวิต โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
  4. จัดการเรียนการสอนจากแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ในชุมชน เรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรม เห็นคุณค่าของธรรมชาติ และใช้แนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานให้ชุมชนมีส่วนร่วม โดยเน้นวิทยากรท้องถิ่น
  5. พัฒนานักเรียนให้มีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ตามเกณฑ์มาตรฐาน ของกระทรวงสาธารณสุขสนับสนุนอาหารเสริมกลางวัน อาหารเสริมนม ให้เด็กได้รับและมีคุณภาพตามหลักโภชนาการ
  6. ส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กได้รับการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ตลอดทั้งแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ในชุมชนและท้องถิ่น
  7. ปรับปรุงบริเวณอาคารเรียน อาคารประกอบ และสถานที่ให้มีความร่มรื่น สะอาด สวยงาม เอื้อต่อการจัดการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
  8. ปรับปรุงและจัดระบบงานธุรการการเงินและพัสดุให้เป็นปัจจุบัน และการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพถูกต้องตามระเบียบ มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้
  9. ปรับปรุงและเร่งแสวงหาความร่วมมือกับชุมชน และร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่น ทั้งภายใน และภายนอกเขตบริการการศึกษา เน้นการเข้าร่วมวางแผนจัดระบบความร่วมมือรับผิดชอบในการจัดการศึกษาและการพัฒนาชุมชน เป็นทั้งผู้ให้และผู้รับปรับปรุงงาน

บริหารบุคคล โดยพัฒนาบุคลากรสู่มืออาชีพ ตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ พัฒนาจิตสานึกสร้างวิสัยทัศน์ในการปฏิบัติงาน ใฝ่รู้ สามารถใช้เทคโนโลยีเป็นสื่อในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สร้างระบบเกื้อกูลช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน ให้บุคลากรมีขวัญกาลังใจในการปฏิบัติงานปรับปรุงการบริหารและการนิเทศให้มีประสิทธิภาพ

การพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีได้ออกดำเนินงานการบริการวิชาการตามคำร้องขอให้กับโรงเรียนวัดทุ่งมะกรูด เมื่อวันที่ 26 – 27 มกราคม  2566 โดยมีทีมงานของบุคลากรสำนักวิทยบริการเป็นผู้ลงพื้นที่เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานห้องสมุดเริ่มตั้งแต่การคัดแยกหนังสือ การวิเคราะห์หมวดหมู่หนังสือ การจัดชั้นหนังสือ การออกแบบห้องสมุดให้น่าเข้ามาใช้บริการด้วยวิธีการจัดมุมต่างๆ เพื่อให้เกิดความน่าสนใจของเด็กนักเรียน นอกจากนี้ยังได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการซึ่งเป็นโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้ดำเนินงานในการพัฒนาระบบโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ OBECLIB ขึ้น เพื่อใช้ในการบริหารจัดการห้องสมุดให้เป็นห้องสมุดมีชีวิตอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งในการดำเนินงานของระบบจะประกอบไปด้วย การลงรายการหนังสือ การทำบัตรสมาชิก การทำสมุดทะเบียนคุมหนังสือภายในห้องสมุด การปริ้นบาร์โค้ดหนังสือ  การให้บริการยืม – คืน  รวมถึงกระบวนการในการเรียกเก็บสถิติต่างๆ ผ่านในระบบ จากผลการดำเนินงานดังกล่าวทำให้ทางโรงเรียนได้มีการดำเนินการลงรายการหนังสือในระบบจำนวน 1146 เล่ม จัดทำบัตรสมาชิกนักเรียน จำนวน 134 คน เป็นต้น

 

 

Loading

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *