นายพิสูจน์ ใจเที่ยงกุล ผู้รับรางวัล “มณีกาญจน์” ประจำปี 2563 สาขาวัฒนธรรมทางภาษา จังหวัดสุพรรณบุรี

นายพิสูนจ์ ใจเที่ยงกุล อายุ 63 ปี เป็นชาวจังหวัดสุพรรณ สำเร็จการศึกษาครุศาสตรบัณฑิต (ภาษาไทย) จากวิทยาลัยครูนครปฐม ศึกษาศาสตรบัณฑิต (ภาษาไทย) จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (จารึกภาษาไทย) จากมหาวิทยาลัยศิลปากร

นายพิสูจน์ ใจเที่ยงกุล รับราชการเป็นครูภาษาไทย มีความสนใจภาษาไทยมาตั้งแต่สมัยเรียนชั้นมัธยมศึกษา มีการจัดทำหนังสือพิมพ์โรงเรียน แต่งบทร้อยกรอง เพลงลูกทุ่ง เมื่อเรียนระดับอุดมศึกษา เคยเขียนบทการแสดงต่างๆ แต่งเพลงพื้นบ้าน ช่วงเรียนปริญญาโทได้ค้นคว้ารวบรวมหนังสือและเอกสารโบราณ และมีการปริวรรตเผยแพร่อีกหลายเรื่อง เป็นผู้ร่วมก่อตั้งเพลงพื้นบ้านโรงเรียนบางลี่วิทยา ได้รับการยกย่องให้เป็นครูภูมิปัญญาไทย ด้านภาษาและวรรณกรรม เพลงพื้นบ้าน ระดับประเทศ รุ่นที่ 8 ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาได้รับรางวัลครูขวัญศิษย์ มูลนิธิสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี รุ่นแรก รางวัลครูภาษาไทยดีเด่น รางวัลเข็มเชิดชูเกียรติจารึกพระนามาภิไธย ย่อ สธ และรางวัลอื่นอีกมากมายรวมทั้งรางวัล วัฒนคุณาธร ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมของกระทรวงวัฒนธรรม

นอกจากนี้นายพิสูจน์ ใจเที่ยงกุล ยังได้จัดทำบทเรียนสำเร็จรูปเรื่อง เรียนวรรณยุกต์สนุกกับเพลงพื้นบ้าน บทเพลงประกอบการสอนภาษาไทย บทความ บทกลอนต่างๆ ลงในสื่อสังคมออนไลน์ในหัวข้อ ภูมิปัญญาภาษาไทย และเรียนรู้อนุรักษ์เพลงพื้นบ้าน นับหลายร้อยเรื่อง

นายพิสูจน์ ใจเที่ยงกุล จึงสมควรได้รับการยกย่อเชิดชูเกียรติเป็นบุคคลผู้ได้รับรางวัล “มณีกาญจน์” สาขาวัฒนธรรมาษา ประจำปีพุทธศักราช 2563

นายพิสูจน์ ใจเที่ยงกุล เกิดวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2500 อายุ 63 ปี บ้านเลขที่ 253 ถนนราษฎร์อุทิศ เทศบาลเมืองสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี อาชีพ ข้าราชการบำนาญ/ครูผู้ทรงคุณค่าแห่งแผ่นดิน โรงเรียนบางลี่วิทยา

การศึกษา

          – ค.บ. (ภาษาไทย) วิทยาลัยครูนครปฐม

– ศษ.บ. (ภาษาไทย) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

– ศศ.ม. (จารึกภาษาไทย) มหาวิทยาลัยศิปากร

รางวัลและเกียรติคุณที่ได้รับ

          – รางวัล “ครูภาษาไทยดีเด่น” (รางวัลเข็มเชิดชูเกียรติจารึกพระนามาภิไธยย่อ สธ) พ.ศ. 2545

– รางวัลบุคลากรต้นแบบปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้รางวัลครูเกียรติ พ.ศ. 2545

– รางวัลครูดีในดวงใจ พ.ศ. 2551

– โล่รางวัลอาสาสมัครดีเด่น พ.ศ. 2556

– รางวัล “วัฒนคุณาธร” ด้านวัฒนธรรม พ.ศ. 2557

– รางวัลรองชนะเลิศการตอบปัญหาธรรมะระดับประเทศ (ชมรมพุทธศาสตรสากล)

– รางวัลครูขวัญศิษย์ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี พ.ศ. 2558

– รางวัล “ครูภูมิปัญญาไทย” รุ่นที่ 8 พ.ศ. 2560

– รางวัลโครงการดีเด่นในการส่งเสริมและรักษามรดภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2561

– รางวัล “สุดยอดครูดี” พ.ศ. 2558

– รางวัลผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมุมานะ อุตสาหะ เสียสละ อดทนและพัฒนาคุณภาพได้เป็นแบบอย่างที่ดี พ.ศ. 2552

– รางวัลครูผู้สอนทางวัฒนธรรมด้านดนตรีไทยและดนตรีพื้นบ้านในสถานศึกษา พ.ศ. 2557

– โล่เกียรติคุณ ผู้ประพันธ์เพลงเยาวชนคนดีศรีสุพรรณ พ.ศ. 2543

– รางวัลบุคลากรดีเด่นด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาบางลี่ พ.ศ. 2548

– รางวัลเชิดชูเกียรติ “ธนบุรีนพมาศ” ประเภทครูอาจารย์รางวัลอันทรงคุณค่าด้านการแต่งกายรักษาวัฒนธรรม พ.ศ. 2556

ความภาคภูมิใจในการทำงานและการทำประโยชน์เพื่อสังคม

          นายพิสูจน์ ใจเที่ยงกุล ข้าราชการบำนาญ ผู้มีผลงานวัฒนธรรมทางภาษา ชุมนุมอนุรักษ์เพลงพื้นบ้าน หรือคณะเพลงพื้นบ้าน หรือคณะเพลงพื้นบ้าน ได้มีการถ่ายทอดเผยแพร่ไปยังหน่วยงานสถาบันการศึกษา องค์กร ชุมชน เพื่อเป็นต้นแบบมาอย่างยาวนาน

ถ่ายทอดผลงานในด้านภาษาและวรรณกรรม ให้แก่นักเรียนในด้านการเขียนร้อยกรอง การพูดสุนทรพจน์ การแต่งกาพย์ยานี 11 โคลงสี่สุภาพ การแต่งอินทรวิเชียรฉันท์

ผลงานทางวัฒนธรรมทางภาษาที่เขียนไว้เป็นเอกสารที่สำคัญ

  • การปริวรรตวรรณกรรมท้องถิ่น เรื่องไพยะสาน วรรณกรรมลาว จารึกในใบลาน เป็นหนังสือผูก พบที่วัดอู่ทอง ตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
  • “ว่านกับเพลงพื้นบ้าน” แต่งด้วยกลอนเพลงพื้นบ้าน (เพลงอีแซว) กล่าวถึงสพรรณคุณของว่าน 103 ชนิด พร้อมภาพประกอบ
  • “สมุนไพรคำกาพย์” แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพและกาพย์ยานี 11 กล่าวถึงสรรพคุณของสมุนไพร 143 ชนิด พร้อมภาพประกอบ
  • รวมผลงานการประพันธ์เพลงพื้นบ้านที่แสดงในงานต่างๆ ตั้งแต่ปี 2542 – 2561
  • เอกสารประกอบการเรียนรู้และฝึกทักษะเพลงพื้นบ้านสุพรรณบุรี
  • บทเรียนสำเร็จรูป เรื่องเรียนวรรณยุกต์สนุกกับเพลงพื้นบ้าน ประกอบงานวิจัยแก้ปัญหาการผันวรรณยุกต์ของนักเรียน
  • บทเพลงประกอบการสอนภาษาไทยและบทเพลงลูกทุ่ง
  • บทความและเรื่องราว งานเขียน บทกลอนในเว็บไซต์ org มี 2 บล็อก คือ “ภูมิปัญญาภาษาไทย” มีบันทึก 561 เรื่อง และ “เรียนรู้อนุรักษ์เพลงพื้นบ้าน” มีบันทึก 328 เรื่อง และมีงานเขียน บทกลอน คำประพันธ์ เผยแพร่ใน facebook ชื่อ Pisoot Jaithiangkul

Loading