ประวัติชุมชนหมู่บ้านวังกะ

ประมาณปี พ.ศ. 2490 ชาวมอญได้อพยพเข้ามาจากเมืองมะละแหม่ง ผ่านทางด่านเจดีย์สามองค์และแม่น้ำบีคลี่ และไปรวมตัวกันอยู่ที่หมู่บ้านนิเถะ ต่อมาชาวมอญกลุ่มใหม่ตามมาในระยะเวลาอันใกล้ โดยใช้เส้นทางบ้านอีต่อง อำเภอทองผาภูมิ เมื่อชาวมอญมีจำนวนมากขึ้นได้เริ่มจากหลวงพ่ออุตตมะนำประชาชนมารวมกันอยู่ ณ ตำแหน่งแม่น้ำสามสาย ได้แก่ แม่น้ำซองกาเรีย แม่น้ำบีคลี่ และแม่น้ำรันตีที่มาบรรจบกัน ณ ฝั่งแม่น้ำสามาประสบ ตรงข้ามกับฝั่งอำเภอสังขละบุรี หลวงพ่ออุตตมะได้จัดสรรที่ดินให้ได้อยู่อาศัย แต่ทั้งนี้การจัดสรรที่ดินเพื่อปลูกบ้านเรือนเท่านั้นผู้อาศัยไม่มีอำนาจในการค้าขายที่ดิน และผู้ที่เป็นเจ้าของบ้านนั้นต้องเป็นชาวมอญหากจะมีผู้อื่นเข้ามาอาศัยอยู่ด้วยก็จะเป็นเพียงผู้อาศัยหรือสามี/ภรรยา และได้ตั้งกฎในการถือปฏิบัติไว้ 3 ข้อ คือ

  1. ห้ามดื่มสุรา
  2. ห้ามเล่นการพนัก
  3. ห้ามลักทรัพย์และห้ามผิดลูกผิดเมียใคร

เนื่องด้วยชุมชนวังกะตั้งอยู่ติดริมแม่น้ำทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ทุ่นาและลำน้ำในน้ำมีปลาในนามีข้าว บนเขามีป่าไม้ชุมชนอาศัยอยู่ติดริมน้ำแหล่งวางไข่ของพันธุ์ปลาหลากหลายชนิด หมู่บ้านเดิมเป็นชาวมอญจึงใช้ชื่อว่าหมู่บ้านเป็นภาษามอญว่า “วังกะ” แปลเป็นภาษาไทยหมายความว่า วังปลา หรือแหล่งปลาชุกชุม/แหล่งรวมของพันธุ์ปลาหลากหลายชนิดกลุ่มชนที่สำคัญกลุ่มหนึ่งในอำเภอสังขละบุรีจังหวัดกาญจนบุรี “มอญ” ซึ่งได้อพยพเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ประมาณด้วยสาเหตุของสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่สงบในประเทศพม่าทางราชการไทยจัดให้เป็นผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าและมีบางส่วนที่จัดเป็นผู้หนีเข้าเมืองโดยตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านวังกะมอญล้วนเป็นผู้ที่มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาและมีสิ่งสำคัญที่เป็นศูนย์รวมจิตใจคือ หลวงพ่ออุตตมะแห่งวัดวังก์วิเวการาม

อย่างไรก็ตามด้วยเหตุที่มอญบ้านวังกะเหล่านี้ยังคงมีสถานภาพเป็นผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าและผู้หลบหนีเข้าเมืองทำให้ไม่ได้รับสัญชาติไทยไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนแม้ว่าจะเกิดบนแผ่นดินไทยฟังพูดอ่านและเขียนได้ดีเหมือนคนทั่วๆ ไปทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา วิธีแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาวส่วนหนึ่งเช่น

  1. การทบทวนกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวกับการเข้าเมืองใหม่อีกครั้ง เพื่อกำหนดสถานะของชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
  2. เจ้าหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่นควรมีจิตใจที่เมตตาไม่ฉวยโอกาสที่ผู้พลัดถิ่นเหล่านี้ตกอยู่ในสภาพจำยอมมาใช้เป็นประโยชน์
  3. การเปิดโอกาสให้ได้รับการศึกษา

แม้ว่าประทศไทยจะสามารถจัดการกับปัญหาชนกลุ่มน้อยได้ดีในระดับหนึ่งแต่แน่นอนว่าประเทศไทยไม่อาจแบกภาระอันเกิดจากการกระทำของรัฐบาลพม่าไปได้ตลอดทางแก้ปัญหาหนึ่งน่าจะผลักดันให้พม่าแก้ไขปัญหาภายในประเทศอย่างแท้จริงการถูกคุกคามของวัฒนธรรมจากภายนอกการรุกรานของสื่อจากกรุงเทพฯ ทางโทรทัศน์ระบบการศึกษาที่นำเอาวัฒนธรรมไทยภาคกลางโดยเฉพาะของกรุงเทพฯ มาสู่เยาวชนรุ่นใหม่ก็เป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้สังขละบุรีในวันนี้เปลี่ยนไปจากเดิมมากและที่กำลังคืบคลานเข้ามาอย่างรวดเร็วคือการท่องเที่ยวแนวทางในการที่จะรับมือกับการท่องเที่ยวและใช้ประโยชน์ให้ได้มากเพื่ออนุรักษ์ความเป็นคนมอญอาจจะทำในรูปของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เช่น รูปแบบการพักอาศัยแบบโฮมสเตย์การนำชีวิตความเป็นอยู่ของคนมอญการจัดแสดงศิลปะและวัฒนะรรมของมอญการจัดทำของที่ระลึกที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของท้องถิ่นที่สำคัญที่สุดคือการให้ความรู้ความเข้าใจแก่คนมอญบ้านวังกะถึงความเป็นตัวตนและภูมิปัญญาของตนเองทั้งให้ความพร้อมตั้งรับการเปลี่ยนแปลงที่เข้ามาอย่างเหมาะสม

ชุมชนชาวมอญบ้านวังกะ อำเภอสังขละบุรี เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา รวมทั้งยังมีกลุ่มชาวมอญที่เข้ามาใหม่ในช่วงรัตนโกสินทร์ แต่ยังคงสืบสานวิถีชีวิตและประเพณีวัฒนธรรมต่อกันมาและอยู่ร่วมกันกับชาวกะเหรี่ยง พม่า และไทยในพื้นที่นี้อย่างสงบสุข

ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้สร้างเขื่อนวชิราลงกรณ์ จึงทำให้เกิดน้ำท่วม ชุมชนต่างๆ ที่อยู่ริมน้ำจึงต้องอพยพย้ายถิ่นฐานออกจากเขตน้ำท่วม ชุมชนชาวมอญจึงต้องอพยพขึ้นมาอาศัยอยู่ริมอ่างเก็บน้ำทำมาหากินอยู่บนสันเขา หมู่บ้านถูกแบ่งออกเป็นสองเขตการปกครอง คือส่วนที่หนึ่งหมู่บ้านวังกะอยู่ในเขตการปกครองดูแลของเทศบาล และส่วนที่สองหม่องสะเทออยู่ในการปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองลู

 

แหล่งที่มา

พัชราพร วันเจริญสุข. (2559).  รายงานการวิจัยภูปัญญาอาหารไทยรามัญบ้านวังกะ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

Loading

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *