บ้านป่านางเย้อ ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
บ้านป่านางเย้อ หมู่ที่ 6 ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นหมู่บ้านเก่าแก่แห่งหนึ่งในตำบลหนองบัว ที่มาคำว่า “ป่านางเย้อ” เป็นการเรียกชื่อตามบริบทของหมู่บ้านเนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีต้นเย้อขึ้นเป็นจำนวนมากต้นเย้อเป็นพืชประเภทไม้เลื้อย ขึ้นในป่าในอดีตชาวย้ายมักเรียกชื่อหมู่บ้านดังกล่าว “บ้านป่าอีเย้อ” แต่ฟังดูไม่สุภาพจึงเปลี่ยนมาเป็น “บ้านป่านางเย้อ” ลักษณะของหมู่บ้านป่านางเย้อมีภูเขาสลับกับพื้นที่ราบเชิงเขาและพื้นที่ราบริมฝั่งแม่น้ำ มีแม่น้ำพื้นที่ คือ ชุมชนยังคงยึดอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ดำรงชีวิตจากการพึ่งพาอาศัยฐานทรัพยากรท้องถิ่นด้วยภูมิปัญญาแบบดั้งเดิม ยึดกฎเกณฑ์ความสัมพันธ์ระบบเครือญาติ แต่ปัจจุบันโครงสร้างของครอบครัวเดี่ยวมีวิธีการถ่ายทอดความรู้ สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันบ้านป่านางเย้อประกอบด้วย 2 ชุมชน ได้แก่ บ้านป่าเย้อและบ้านหนองขี้เหล็ก
จากลักษณะความเป็นมาของหมู่บ้านป่านางเย้อ ซึ่งเป็นหมู่บ้านเก่าแก่แห่งหนึ่งของตำบลหนองบัว มีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในชุมชนขึ้น ซึ่งได้แก่ในปี พ.ศ. 2497 มีชาวมอญอพยพเข้ามาค้าขายและตั้งรกรากทำมาหากิน โดยผู้นำชุมชนในขณะนั้นได้มอบที่ดินส่วนหนึ่งให้กับชาวมอญในการทำมาหากิน ทำให้เริ่มเป็นชุมชนขนาดใหญ่ขึ้น ต่อมีหลังจากมีการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 ในปี พ.ศ. 2504 เกิดการพัฒนาในระดับชุมชนโดยมีการสร้างโรงเรียนขึ้นในชุมชน โดยครูปรีชา กลุ่มบุตย์ เป็นครูใหญ่คนแรก ผลจากการมีโรงเรียนในชุมชนรวมทั้งผลจากการพัฒนากระแสหลักทำให้ความเจริญต่างๆ เริ่มเข้าสู่ชุมชน ทั้งระบบสาธารณูปโภคและระบบคมนาคม
สภาพป่าไม้ในชุมชนของป่านางเย้อ ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ไม่เหมือนในอดีตที่ป่านมา กล่าวคือ ส่วนใหญ่จะเป็นทรัพยากรที่ถูกนำมาใช้และไม่ได้ดูแลรักษา อาจมีสาเหตุมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรในชุมชน เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่ติดต่อกับเขตทหาร (จัง
หวัดกาญจนบุรี) และมีจำนวนประชากรแฝงที่เข้ามาใช้ทรัพยากรต่างๆ ในชุมชน
กล่าวได้ว่าชุมชนแห่งนี้ เป็นหมู่บ้านเก่าแก่แห่งหนึ่งในตำบลหนองบัว ประชากรในหมู่บ้านป่านางเย้อมีวิถีชีวิตยังคงเป็นสังคมกึ่งเมืองกึ่งเกษตรกรรม ดำรงชีวิตเรียบง่าย ลักษณะเด่นของพื้นที่คือชุมชนยังคงยึดอาชีพเกษตรกรรม ดำรงชีวิตจากการพึ่งพาอาศัยทรัพยากรท้องถิ่นด้วยภูมิปัญญาแบบดั้งเดิม