ประเพณีทรงเจ้าตำบลบ้านเก่า

ประเพณีทรงเจ้าตำบลบ้านเก่า เดิมทีมีศาลไม้เก่าใกล้บริเวณท่าน้ำบ้านเก่าและชาวบ้านก็ไม่ทราบว่าใครสร้างเอาไว้ แต่ชาวบ้านก็ให้ความสำคัญนับถือศาลตลอดมา  ต่อมาได้มีเจ้าองค์แรกที่จับทรงหรือเลือกร่างทรงเพื่อเป็นสื่อกลางในการทำพิธีต่างๆ  คือเจ้าพ่อเขาแก้ว ร่างทรงเป็นนายแล่น รื่นกลิ่น หลังจากนั้นก็เริ่มมีเจ้าเริ่มจับคนทรงเพิ่มมากขึ้นเลื่อยๆ

การแต่งกายของร่างทรงในขณะเจ้าขึ้นทรง โดยทั้งเจ้าพ่อและเจ้าแม่ มีการแต่งกายร่างทรงเหมือนกัน ได้แก่

  1. ผ้านุ่งเป็นผ้าพื้นเดียวมีสีสันหรืออาจมีลวดลายและมีวิธีการนุ่งเหมือนกับการนุ่งสบงของพระสงฆ์
  2. ผ้าคาดผ้านุ่ง เป็นผ้าพื้นเล็กใช้สำหรับรัดผ้านุ่งตรงเอว
  3. สไบ เป็นผ้าที่มีสีสันต่างๆ ใช้คาดทางหัวไหล่ซ้ายและให้ห้อยมาทางขวามือ
  4. ผ้าเช็ดหน้า 2 พื้นเย็บติดกัน ใช้สำหรับทำความสะอาดมักจะพาดที่หัวไหล่ทางซ้ายมือ
  5. ผ้าโพกศีรษะสำหรับเจ้าพ่อ เป็นผ้าสีแดงมีสำหรับเจ้าพ่อที่เป็นผู้ชาย
  6. พระขรรค์ เป็นอาวุธประจำตัวของเจ้าพ่อเจ้าแม่และเจ้าที่ ที่ใช้ติดตัวของเจ้าในขณะขึ้นทรง

อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดบูชาครูได้แก่ ใบศรี อุปกรณ์สร้างยันต์เขต ยันต์เสาธง อุปกรณ์ทรมาทรตน
เพื่อบูชาครูบาอาจารย์ ได้แก่ เข็มแทงปาก ลูกทุเรียนตะปู เก้าอี้ตะปู

ขั้นตอนการจัดประเพณีทรงเจ้า 2 วัน 1 คืน ดังนี้

  1. ก่อนวันจัดงานประเพณี ร่างทรงและผู้ศรัทธามาร่วมกันตกแต่งศาลและเครื่องใช้ในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ด้วยกระดาษแก้ว ผ้าสี
  2. เช้าวันแรกทำพิธีล้างหิ้งบูชา คือ ทำความสะอาดในศาลขี้ธูปก้านธูปเก่าเปลี่ยนเครื่องไห้ว
  3. เตรียมสร้างยันต์เขตและยันต์เสาธง
  4. ปักยันต์เขต
  5. บ่ายปักยันต์เสาธง
  6. ตอนมืด ฟังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์เย็น
  7. เช้ามือวันที่ 2 ทำพิธีบูชาครูด้วยเครื่องบูชา
  8. เช้าเวลา 7 นาฬิกาทำบุญตักบาตร
  9. บ่ายทำพิธียกเสาธง
  10. บ่ายรำใบศรีและแสดงพิธีกรรมทรมานตน

Loading

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *