การตั้งศาลชุมชนบ้านหนองขาว
ความเชื่อในความคิดของชุมชนบ้านหนองขาว
ความเชื่อของชุมชนตำบลหนองขาวจังหวัดกาญจนบุรีที่ผ่านมานั้นมีการบอกเล่าจากคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้านถึงเรื่องการตั้งศาลของเจ้าพ่อ เจ้าแม่ และมีการถ่ายทอดเรื่องราวจากรุ่นลูกรุ่นหลานต่อๆ กันมาเกี่ยวกับเรื่องผีสางเทวดาอย่างฝังแน่นไว้ในจิตใจของชาวบ้านจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิต เวลามีเหตุการณ์เกิดขึ้นในหมู่บ้านและเป็นเหตุการณ์ที่ไม่สามารถมีคำอธิบายหรือเวลาที่ชาวบ้านขาดที่ยึดเหนี่ยวจิตใจก็จะหันมาพึ่งศาลประจำหมู่บ้านเพื่อตั้งจิตอธิฐานเพื่อบนบานสานกล่าวขอให้ศาลช่วยเหลือ เพราะชาวบ้านในชุมชนมีความเชื่อมั่นว่าเมื่อกล่าวคำขอกับศาลประจำหมู่บ้านแล้วจะทำให้สิ่งที่ของประสบความสำเร็จหรือปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นจะคลี่คลายไปในทางที่ดีหรือหายไปได้
ศาลในความเชื่อของชาวหนองขาว
ศาลแรกที่เกิดขึ้นในชุมชนหนองขาวคือ ศาลเจ้าพ่อแม่ ช่วงเวลาในการก่อตั้งไม่มีใครทราบรู้แต่ว่ามีมาตั้งแต่บรรพบุรุษแล้ว จากการสอบถามข้อมูลจากชาวบ้านและพ่อแม่ขณะประทับร่างทรงอยู่ท่านได้บอกว่าศาลเจ้าพ่อแม่เกิดจากพ่อแม่ไปเข้าฝันคนจีนที่มีฐานะดีให้มาช่วยสร้างศาลให้ ดังนั้นคนจีนจึงได้ทำการรวบรวมเงินกันมาก่อสร้างศาลเจ้าพ่อแม่โดยมีเป็นศาลไม้ขนาดใหญ่ที่มีลักษณะเป็นทรงเรือนไทยยกพื้นสูงเท่าเอวและมีตัวอักษรภาษาจีนที่ได้สักไว้ที่ตัวไม้ของศาล จนเมื่อ พ.ศ. 2536 ผู้ใหญ่เพียนและชาวบ้านช่วยกันออกเงินคนละ 5 -10 เพื่อทำการบูรณะและซ่อมแซมศาลพ่อแม่จนกลายเป็นศาลปูนมาจนถึงทุกวันนี้ จากพื้นดินกลายเป็นพื้นปูน ข้างศาลพ่อแม่จะมีกระดาษตัวหนังสือจีนติดอยู่ ชาวบ้านบอกว่าตัวหนังสือที่อยู่บนกระดาษนี้มีมาตั้งนานแล้ว ชาวบ้านบางคนก็บอกว่าตัวหนังสือจีนนี้แปลว่าเทพยาดาฟ้าดิน บางคนก็บอกว่าตัวหนังสือนั้นเป็นรายชื่อคนที่สร้างศาลนี้
ภายในศาลพ่อแม่มีปุ่มไม้ที่ชาวบ้านเรียกว่า ท้าวเวทสุวรรณ ชาวบ้านบอกว่าเมื่อก่อนชาวบ้านเข้าป่าเจอปุ่มไม้ขนาดใหญ่จึงได้ช่วยกันลากออกมาไว้ตรงศาล ซึ่งอยู่ตรงกลางชุมชนแห่งนี้ต่อมามีผีที่เรียกว่า ท้าวเวทสุวรรณมาสิงไม้นี้ ผ้าสีแดงที่ติดอยู่ด้านบนนั้นเกิดจากชาวบ้านนำมาแก้บน บ้างบนละคร ซึ่งชาวบ้านมีความเชื่อว่าว่าท่านเก่งเกี่ยวกับด้านการเรียน เช่นบนสอบเข้าสถานศึกษา ศาลพ่อแม่นั้นจะมีร่างทรงไม่แน่นอน เวลาจะมางานปีครั้งหนึ่งก็จะต้องอาศัยร่างทรงของเจ้าองค์อื่นโดยการของเจ้าองค์อื่นโดยการขออนุญาตเจ้าหน้าที่ที่เป็นเจ้าของร่างทรงนั้นเสียก่อน เพราะร่างทรงคนหนึ่งห้ามมีเจ้าเป็นเจ้าของซ้ำกันแต่อย่างไรก็ตามท้าวเวทสุวรรณนานๆ จะลงมาสักครั้งหนึ่งซึ่งมีลักษณะของการแต่งกายด้วยชุดสีดำทั้งชุดจนมีลักษณะน่ากลัวน่าเกรงขามพอถึงงานปีใหม่ก็จะไหว้ด้วยส้มจานเดียวเท่านั้น
พอต่อมาก็เกิดศาลอื่นๆ ตามมาเช่น ศาลพ่อลมบน ศาลปู่เขียว ศาลเฒ่าสม ศาลเจ้าพ่อโรงหนัง เป็นต้น ศาลที่สำคัญในหมู่บ้านหนองขาว ได้แก่ ศาลเจ้าพ่อแม่ ซึ่งอยู่ในใจกลางหมู่บ้าน ซึ่งชาวบ้านจะเรียกบริเวณนี้ว่า ตาหลวงน้อยตาหลวงใหญ่หรือกิโล 12 ศาลเจ้าพ่อโรงหนังอยู่ทางทิศใต้ของชุมชน ศาลท่านผู้ใหญ่เทวดา สะปู่ย่า แม่องค์ชีหรือศาลยายเฒ่าสมจะอยู่ติดกับคลองชลประทานของชุมชน เจ้าพ่อห้วยหินลับไม่มีศาลจะมีแต่จอมปลวกที่อยู่ในป่านอกชุมชน เป็นเจ้าเกี่ยวกับการเกษตรที่ชาวบ้านให้ความนับถือมาก
ศาลเจ้าพ่อโรงหนังหรือศาลเกย จะตั้งอยู่ที่หมู่ 12 ของชุมชนบ้านหนองขาว เมื่อก่อนเป็นเรือนไทยไม้พื้นยกสูง หลังเล็กมีประตูเปิดปิด มีบันได้ขึ้นไปข้างบนได้ร่างทรงจะขึ้นไปนั่งได้เพียงแค่คนเดียว ปัจจุบันได้รับการซ่อมแซมก็ยังคงมีลักษณะคล้ายเมื่อก่อน พื้นที่บริเวณตั้งศาลเมื่อนี้บริเวณนี้จะเป็นป่าและเป็นพื้นที่สาธารณะ ปัจจุบันได้ทำการบูรณะโดยการเทพื้นปูเป็นบริเวณกว้างเพื่อใช้เป็นที่รวมศาลต่างๆ เมื่อก่อนบริเวณนี้จะมีศาลเพียงไม่กี่ศาล เช่น ศาลพ่อลมบน ศาลปู่เขียว พอระยะเวลาผ่านไปเรื่อยๆ จำนวนศาลก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการสอบถามขาวบ้านถึงเหตุผลของการสร้างศาลต่างๆ ที่เพิ่มมากขึ้นในบริเวณนี้ และทำไมไม่ไปตั้งศาลที่อื่นบ้าง ชาวบ้านบอกว่าเคยได้ยินร่างทรงพูดว่าเป็นเพราะความต้องการของเจ้าเองที่ต้องการมาอยู่ใกล้เพื่อนฝูง ใกล้พี่น้อง คือ เจ้าพ่อลมบนเป็นเพื่อนกับปู่เขียว พ่อปู่เขาวงศ์ฆ้องเป็นเพื่อกันปู่เขียว จึงได้มาขอปู่เขียวตั้งศาลใกล้ๆ กัน พ่อเขาสูงเป็นเพื่อนกันก็มาตั้งศาลใกล้กันจึงทำให้ศาลบริเวณนี้มีจำนวนมาก ลักษณะของศาลแต่ละศาลจะมีขนาดที่แตกต่างกันไป เล็กบ้างใหญ่บ้าง และศาลสามารถแบ่งออกตามนิสัยของเจ้านั้นได้ด้วยซึ่งสามารถดูได้จากเครื่องประดับของศาล เช่น ศาลของพ่อเขาวงศ์ฆ้องมีนิสัยชอบปืนเป็นนักเลง ศาลพ่อเขางูจะมีรูปปั้นงูเต็มไปหมด ศาลปู่เขียวจะมีขวดเหล้าเพราะเป็นคนขี้เหล้า
ศาลแต่ละศาลย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของกาลเวลา มีการบูรณะซ่อมแซมบ้าง เช่น ศาลของปู่เขียวจะได้รับการซ่อมแซมบูรณะมาแล้ว 2 ครั้ง รวมถึงศาลเจ้าพ่อลมบนก็เช่นกันที่ได้รับการซ่อมแซมและบูรณะใหม่ผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลศาลก็จะเป็นร่างทรงที่จะคอยทำหน้าที่ทำความสะอาดศาลหรือไม่ก็เป็นลูกศิษย์ของเจ้าเป็นคนมาคอยช่วยดูแลซ่อมแซมให้ใหม่เมื่อเจ้าช่วยเขาได้ในสิ่งที่เขาบอกกล่าวและขอไว้ต่อศาลเจ้านั้นๆ เช่น การสอบเข้าโรงเรียน การหายจากการเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นต้น ขนาดของศาลแต่ละศาลจะเล็กหรือใหญ่นั้นขึ้นอยู่กับฐานะของร่างทรงประจำศาล ถ้าร่างทรงมีฐานะดีขนาดของศาลก็จะมีขนาดใหญ่และสวยงาม ถ้าร่างทรงมีฐานะยากจน ศาลก็จะมีขนาดเล็กเรือนไม้ก็จะค่อนข้างเก่า
ส่วนประกอบต่างๆ ที่อยู่ภายในศาล จะประกอบไปด้วย ดอกไม้ พวงมาลัย ส่วนประกอบต่างๆ ที่อยู่ภายในศาลก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคมอย่างเช่นเมื่อก่อนจะนิยมใช้ดอกไม้สด ปัจจุบันนิยมใช้ดอกไม้พลาสติก จากการสอบถามข้อมูลผู้ที่มีความรู้ทางด้านการตั้งศาลได้เล่าให้ฟังว่าการเปลี่ยนมาใช้ดอกไม้พลาสติกจะทำให้ไม่ต้องซื้อดอกไม้บ่อยๆ นอกจากนี้แล้วยังมีความคงทนความสวยงามได้นาน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันของที่อยู่ในศาล เช่น ไม้จำหรัดหรือไม้จวิด คือไม้ที่ร่างทรงนำมาวางไว้ที่ศาลของเจ้าที่ตนเองเป็นร่างทรงให้จะนำมาวางเมื่อยอมรับเป็นร่างทรงให้เจ้าใหม่ๆ 1 อัน นอกจากนี้ของที่อยู่ในศาลประกอบด้วยตุ๊กตารำผู้หญิง ผู้ชาย ช้าง ม้า ซึ่งล้วนเป็นของที่ชาวบ้านนำมาแก้บนที่ศาล
ลักษณะของศาลในชุมชนบ้านหนองขาว
ศาลพ่อแม่หมู่ที่ 5
จากการสัมภาษณ์ผู้ที่มีความรู้ในการตั้งศาลของชุมชนบ้านหนองขาวท่านได้เล่าให้ฟัง “ศาลนี้นั้นตั้งขึ้นมานานแล้วว่าตัวของเขาเองหรือรุ่นยาย รุ่นแม่ รวมญาติพี่น้องก็ต่างไม้รู้ว่าตั้งมานานเท่าไหร่แต่มีการเล่าปากต่อปากว่าจะมีการจัดทำพิธีกรรมทำบุญประจำปีกันเป็นรุ่นสู่รุ่นศาลแต่เดิมนั้นเป็นอาคารเรือนไม้เป็นที่สิงห์สถิตของบรรพบุรุษ เจ้าที่ เทพเจ้า และเทพองค์อื่นๆ แล้วท่านยังบอกอีกว่าคนในหมู่บ้านถ้าจะมีงานอะไรก็ต้องมาจุดธูป จุดเทียนเพื่อบอกกล่าวให้ศาลพ่อแม่รับรู้ไม่เช่นนั้นงานที่ทำจะไม่เป็นผลสำเร็จ หรืออาจมีอุปสรรคในงานที่ทำ
ศาลเจ้าพ่อโรงหนัง
เมื่อก่อนลักษณะของศาลจะเป็นเรือนไทยไม้พื้นยกสูงหลังเล็กทีประตูเปิดปิด มีบันไดขึ้นไปข้างบนได้ร่างทรงขึ้นไปนั่งเพียงแค่คนเดียวปัจจุบันนี้ทำใหม่มีลักษณะคล้ายเมื่อก่อน พื้นที่ของบริเวณศาลเมื่อก่อนจะเป็นป่าซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณ ปัจจุบันได้ทำการบูรณะและเทปูนและเป็นที่ตั้งรวมศาลต่างๆ เมื่อก่อนนี้มีจำนวนศาลในบริเวณนี้เพียงแค่ไม่กี่ศาล เช่น ศาลของพ่อลมบน ศาลของปู่เขียว พ่อเวลาผ่านไปก็เริ่มมีศาลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการสอบถามชาวบ้านว่าทำไมจึงมีคนมาสร้างศาลตรงนี้เยอะมากชาวบ้านบริเวณดังกล่าวบอกว่าเคยได้ยินร่างทรงพูดว่าเป็นเพราะความต้องการของเจ้าเองที่ต้องการอยู่ใกล้เพื่อนฝูง ใกล้พี่น้อง คือ เจ้าพ่อลมบนเป็นเพื่อนกับเจ้าพ่อปู่เขียว พ่อปู่เขาวงศ์ฆ้องเป็นเพื่อกับเจ้าพ่อปู่เขียวจึงมาขอเจ้าพ่อปู้เขียวตั้งศาลใกล้ๆ กัน เจ้าพ่อเขางูเป็นเพื่อนกันก็ได้มาขอตั้งศาลใกล้ๆกัน ซึ่งศาลแต่ละศาลจะแตกต่างกันไปเล็กบ้างใหญ่บ้าง และศาลแต่ละศาลจะแบ่งออกตามนิสัยของเจ้านั้นๆ ด้วย ซึ่งดูจากของประดับศาล เช่น ศาลของพ่อเขาวงศ์ฆ้องมีนิสัยชอบยิงปืนเป็นนักเลง ศาลพ่อเขางูจะมีรูปปั้นงูเต็มศาลไปหมด ศาลปู่เขียวจะมีขวดเหล้าเนื่องจากท่านชอบกินเหล้า เป็นต้น
ศาลท่านผู้ใหญ่ เทวดา สะปู่ยา แม่องค์ชี (หมู่ที่ 9)
แต่เดิมชื่อศาลยายเฒ่าสม ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นศาลท่านผู้ใหญ่ เทวดา สะปู่ยา แม่องค์ชี ลักษณะของศาลเดิมเป็นศาลเรือนไม้เก่าแต่ต่อมาสร้างใหม่กลายเป็นปูน และย้ายศาลมาอยู่บริเวณข้างๆ เดิมมีศาลเดียวคือศาลยายเฒ่าสม พอต่อมาก็มีศาลของปู่เจ้าบ้านซึ่งเป็นเจ้าที่พึ่งมาอยู่ที่นี้ มาขอยายเฒ่าสมร่างทรงของปู่เจ้าบ้านนี้อยู่ในอำเภอเมืองปู่เจ้าบ้านไม่รับขึ้นทรงพอถึงงานปีที่ศาลนี้จะเข้าทรง
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สถิต ณ ศาลต่างๆ
เจ้าองค์แรกที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านหนองขาวคือ ศาลเจ้าพ่อแม่และเจ้าพ่อลมบนตอนที่เจ้าพ่อแม่ประทับร่างทรงบอกว่าสาเหตุที่เจ้าพ่อแม่มาอยู่บ้านหนองขาวเพราะว่าดินทางมาเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงหมู่บ้านนี้เจอบ่อน้ำจึงหยุดล้างหน้าแต่พอจะล้างหน้าก็มีมือโผล่ขึ้นมาจากบ่อน้ำเจ้าพ่อแม่จึงอธิฐานให้มือนั้นหายไปถ้าหายไปตนจะมาสิงสถิตอยู่ที่หมู่บ้านแห่งนี้ หลังจากนั้นมือก็หายไปจริงๆ บัดนั้นเป็นต้นมาเจ้าพ่อแม่ก็ลงมาอยู่ที่นี้ส่วนเจ้าพ่อลมบนนั้นไม่สามารถหาสาเหตุได้ว่าทำไมจึงออกมาอยู่ที่หมู่บ้านนี้
หลังจากนั้นก็มีเจ้าองค์อื่นๆ เกิดขึ้นมาภายหลังจนกระทั่งปัจจุบันนี้มีศาลที่มารตั้งอยู่ที่หมู่บ้านหนองขาว เช่น ศาลเจ้าพ่อโรงหนังที่อดีตชาติเคยเป็นครูหนังตะลุงอยู่ในหมู่บ้านหนองขาวสมัยอยุธยา ศาลปู่เขียวที่อดีตชาติเคยเป็นชาวบ้านธรรมดา อยู่ในกาญจนบุรีสมัยอยุธยา สาเหตุที่ตายเนื่องจากไปเที่ยวงานวัดแล้วกินเหล้าเมามากพอเดินกลับบ้านก็ต้องเดินผ่านคลองจึงเดินตกลงในคลองตายพอตายก็กลายเป็นผีหลอกหลอนไปทั่วชาวบ้านบอกว่าเฮี้ยนมากด้วยความเฮี้ยนชาวบ้านจึงเชิญปู่เขียวมาอยู่ที่นี้เพื่อคุ้มครองชาวบ้านหนองขาวให้ปลอดภัย ศาลยายเฒ่าสมซึ่งเป็นชื่อของร่างทรงชื่อยายเฒ่าสมจริงๆ แล้วมี 4 องค์อยู่ในร่างทรงเดียวกันคือท่านผู้ใหญ่ท่านสระปู่ตา ท่านเทวดาและแม่องค์ชีเจ้าองค์อื่นๆ ที่เกิดขึ้นมาอีก เช่น เจ้าพ่อห้วยหินลับเจ้าพี่จ๋าลองแก้วอดีตชาติเคยเป็นนักรบของไทยมาก่อนสู้รบกับพม่าสมัยอยุธยาที่กาญจนบุรีระหว่างที่สู้รบกับพม่าเคยยกทัพมาที่หมู่บ้านนี้มาค้างอ้างแรมที่วัดใหญ่ดงรังซึ่งปัจจุบันนี้คือวัดประจำหมู่บ้านหนองขาวเจ้าพี่กลิ่นธูปอดีตชาติก็เคยเป็นทหารมาก่อนซึ่งพ่อรามเมศวรเคยรบเคียงไหล่กับพระนเรศวรมาก่อนในสมัยอยุธยาเป็นต้น (ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเจ้าต่างๆ ได้มาจากการสัมภาษณ์เจ้าประทับทรงอยู่ได้มาจากการสอบถามร่างทรงและได้มาจากการถามชาวบ้านที่รู้เรื่องนี้)
สาเหตุที่ร่างทรงให้กับเจ้านั้นส่วนใหญ่ร่างทรงจะบอกว่าเพราะว่าเกิดจากความเจ็บป่วยที่ไม่ทราบสาเหตุและไม่สามารถรักษาให้หายได้และในขณะที่ตัวเองกำลังจะสูญเสียชีวิตร่างทรงเหล่านี้ไปหาแพทย์สมัยใหม่แล้วแพทย์สมัยใหม่ไม่สามารถรักษาหรือช่วยได้จึงจะไปหาเจ้าให้ช่วยเหลือเจ้าจะบอกว่ามีเจ้ามาจับทรงให้ไปรับทรงพอชาวบ้านที่ป่วยไปจับทรงตามคำบอกของเจ้าปรากฎว่าหายขาดจากโรคจริงๆ
พิธีกรรมการไหว้ศาลและการตั้งศาลประจำปีชุมชนบ้านหนองขาว
หลังจากร่างทรงผ่านพิธีครอบครูและมีการตั้งหิ้งเจ้าของตนแล้วจึงนับได้ว่าร่างทรงนั้นเป็นรวมไปถึงทั้งหลายร่างทรงที่สมบูรณ์และสิ่งที่เป็นภาระหน้าที่ตามมากก็คือในทุกๆ ปีร่างทรงต้องทำพิธีไหว้ครูซึ่งเรีกกกันติดปากว่าการจัดงานปีพิธีไห้วครูประจำปีเป็นพิธีที่แสดงความเคารพการบูชาเจ้าหรือเทพที่เป็นครูทั้งหลายรวมไปถึงแสดงความเคารพบูชาเจ้าที่มาเข้าทรงบด้วยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันพิธีไห้วครูประจำปีนั้นนิยมทำกันในวันพฤหัสบดีเนื่องจากว่าเป็นวันครู ส่วนเดือนที่นิยมจัดไห้วครูประจำปีคือเดือน 4 เดือน 5 เดือน 6 หรือในเดือนมีนาคม เมษายน และเดือนพฤษภาคม โดยเฉพาะเป็นช่วงหน้าแล้งซึ่งร่างทรงส่วนใหญ่จะมีเวลาว่างมากกว่าเดือนอื่น
การจัดงานปีจะจัดงานที่ศาลเจ้าเฉพาะที่สำคัญๆ ของหมู่บ้านเท่านั้นและการจัดงานต้องไม่จัดงานซ้อนศาลกันในวันหนึ่งๆ คือ วันหนึ่งจะจัดงานปี 1 งาน 1 ศาล ยกเว้นศาลเจ้าพ่อลมบนและศาลปู่เขียวจะจัดพร้อมกันเพราะอยู่ที่เดียวกัน
ศาลเจ้าพ่อแม่ จะจัดงานประจำปีในเดือน 6 ขึ้น 1 ค่ำ
ศาลเจ้าพ่อลมบนและศาลปู่เขียว จะจัดงานประจำปีในเดือน 6 ขึ้น 4 ค่ำ
ศาลเจ้าพ่อโรงหนัง จะจัดงานประจำปีในเดือน 6 ขึ้น 3 ค่ำ
ศาลเจ้าพ่อท่านผู้ใหญ่ เทวดา สะปู่ยา แม่องค์ชี จะจัดงานประจำปีในเดือน 6 ขึ้น 7 ค่ำ
พิธีกรรม
พิธีกรรม หมายถึง การปฏิบัติสิ่งที่สืบทอดกันมาในเรื่องของการตั้งศาลยาย รวมทั้งเรื่องเกี่ยวเนื่องต่างๆ การปฏฺบัติดังกล่าวนี้กระทำในโอกาสการไหว้บรรพบุรุษของครอบครัว ไหว้เจ้าที่ ไห้วเทพเจ้า ฯลฯ ปีละ 1 ครั้ง
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเซ่นไห้ว
- บายศรีปากชาม
- ขนมต้มแดงต้มขาวหรือขนมเปียกปูน
- น้ำเปล่า
- ชาม ถ้วย
- ถาด
ของที่อยู่ในสำหรับเมื่อก่อนเป็นขนมต้มแดงต้มขาว ซึ่งแสดงถึงสัญลักษณ์ของศาสนาพราหมณ์ ขมเปียกปูน ดอกไม้อะไรก็ได้ส่วนใหญ่เป็กดอกเฟื่องฟ้าสีแดง สาเหตุที่นิยมดอกไม้ชนิดนี้กันคือมันหาง่ายไม่เสียเงินซื้อน้ำเปล่าใส่กระทงบายศรีปากชามเล็ก
แหล่งอ้างอิง
อำพร โพธิ์เงิน. ความเป็นมาของศาลในชุมชนบ้านหนองขาว. เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553.