ความเป็นมาของตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จัวหัดกาญจนบุรี
ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี ตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตกของจังหวัดกาญจนบุรี มีด้วยกัน 6 หมู่บ้าน คือ
- บ้านสะเนพ่อง
- บ้านกองม่องทะ
- บ้านไล่โว่-ซาลาวะ
- บ้านเกาะสะเดิ่ง
- บ้านที่ไล่ป้า
- บ้านจะแก
ซึ่งบ้านสะเนพ่องอยู่ใกล้อำเภอสังขละบุรีประมาณ 10 กิโลเมตร อยู่สูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ
800 – 1,100 เมตร มีภูเขาล้อมรอบหมู่บ้าน มีห้วยเขอะเหราะเป็นลำห้วยสายหลัก พื้นที่ราบส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งของตัวหมู่บ้านและพื้นที่ทำนาแต่มีไม่มากนัก มีอาณาเขตติดต่อกับหมู่บ้านอื่นๆ โดยรอบ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านไล่โว่-ซาลาวะ
ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านกองม่องทะ
ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านเกาะสะเดิ่ง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านซองกาเลีย
การเดินทางเข้าออกของหมู่บ้านจากปากทางที่ติดถนนซึ่งวิ่งตรงไปอำเภอสังขละบุรี เลี้ยงเข้าทางแยกจากถนนหลักเป็นทางซีเมนต์ผ่านบ้านตีนเขา ผ่านที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลไล่โว่ จนมาถึงทางขึ้นเขาไม้แดง ข้ามเขาไม้แดงแล้วข้ามห้วยเขอะเหราะ ผ่านหน่วยพิทักษ์ป่าสะเนพ่อง และเข้าสู่หมู่บ้าน การเดินทางสามารถใช้ได้ทั้งรถมอเตอร์ไซค์และรถยนต์ แต่หากเป็นช่วงหน้าฝนหากต้องเดินทางด้วยรถยนต์การใช้เครื่องสี่ล้อจะมีความปลอดภัยมากกว่า เพราะเส้นทางขึ้น-ลงเขาแม้จะเป็นคอนกรีตแต่มีความชันและค่อนข้างลื่น และต้องจอดรถไว้ริมห้วยก่อนที่จะเดินเท้าต่อเข้าหมู่บ้าน เพราะกระแสน้ำในห้วยค่อนข้างแรงและไหลเชี่ยว
ประชากรในหมู่บ้านเกือบทั้งหมดเป็นคนไทยเชื้อสายโผล่ว (แต่คนภายนอกมักเรียกชาวบ้านว่ากะเหรี่ยง) ชาวบ้านที่อยู่ในสะเนพ่องดั้งเดิมและที่เกิดในปัจจุบันที่ไม่ตกสำรวจจะถือบัตรประจำตัวประชาชน ส่วนคนที่ถือบัตรสีฟ้า เช่น บัตรฟ้า บัตรเขียวขอบแดง บัตรต่างด้าว และไม่มีบัตรจำมีทั้งคนที่เกิดในหมู่บ้านแต่ตกสำรวจ
วิถีการดำเนินชีวิตของคนในชุมชนขึ้นอยู่กับการทำเกษตรเพื่อยังชีพมากกว่าการค้าขาย ชาวบ้านจะให้ความสำคัญกับการเพาะปลูกข้าวเป็นหัวใจหลักของการยังชีพ การปลูกข้าวของชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นการทำไร่ข้าว มีการทำนาบ้างในบางครอบครัวเพราะพื้นที่ราบมีน้อยและต้องลงทุนสูงโดยเฉพาะค่าไถ ค่าน้ำมัน การปลูกข้าวไร่จะปลูกอยู่ตามพื้นที่ป่าเขาซึ่งการใช้ประโยชน์จะต้องรู้จักเลือกพื้นที่อย่างเหมาะสมและใช้ความระมัดระวังเพื่อไม่ให้กระทบกับพื้นที่เปราะปาง เช่น ป่าต้นน้ำ ชาวบ้านจะใช้พื้นที่เพาะปลูกเพียง 1 – 2 ปี เพื่อไม่ให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินเสียไป เพราะหากใช้พื้นที่ติดต่อกันนานหลายปีเกินไป โอกาสที่ผืนดินบริเวณนั้นจะกลับมาเป็นป่าให้ปลูกข้าวได้อีกไม่สามารถเป็นไปเพราะดินจืด ไม่มีธาตุอาหารเหลืออยู่ การทำไร่หมุนเวียนจึงต้องมีการขยับหรือเปลี่ยนพื้นที่โดยทิ้งพื้นที่เดิมไว้อย่างน้อย 5 ปีหรือประมาณ 8 – 10 ปี เพื่อให้ดินได้ฟื้นตัวซึ่งพื้นที่ ๆ ปล่อยทิ้งไว้ชาวบ้านจะเรียกว่า “ไร่ซาก” หลังจากนั้นจึงกลับมาใช้พื้นที่เดิมต่อไป ซึ่งในไร่ข้าว 1 ผืนนอกจากข้าวแล้วยังมีพืชอาหารอีกหลากหลายชนิดให้เก็บกินตั้งแต่ต้นฤดูการปลูกข้าวจึงถึงเก็บเกี่ยวเสร็จ อาทิเช่น มันสำปะหลัง ฟักทอง ฟักเขียว ถั่วฝักยาว แตงไทย ตะไคร้ พริก ผักชี ข้าวโพด เผือก ผักกาด มะเขือ ผักปลัง นองกะว่อง ผักไผ่ และแมงลัก ฯลฯ ทั้งนี้พื้นที่ใช้ประโยชน์ของชาวบ้านในชุมชนจะแบ่งออกเป็น
- พื้นที่หาอยู่หากิน (พื้นที่ไร่หมุนเวียนและไร่ซาก)
- พื้นที่ป่าต้นน้ำ
- พื้นที่ป่าวัฒนธรรม
- พื้นที่แหล่งอาหาร
ดอกไม้ท้องถิ่น ได้แก่ ทุโพ่ง ที่ชวย เคาะบิ เล่เถะ ปะยี หมุ่งเหย่ หมุ่งหว่อง ปู่ลาย จ่องพูกล่า ดอาะเตาะซอง เซอหล่องวาเหล่ กะหริข่อง ที่เผิ่ง ที่ทา ที่คี่ เซอเด่งโพ่กา มะหรือทา เนินเขาเซอหลูวาพล่อง หม่องกาโหร่ง
ไล่น่าถุ