ชีวประวัติ นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เกิดเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2483 ที่อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี เป็นบุตรคนโต และผู้ชายคนเดียวในจำนวนที่น้องทั้งหมด 5 คน ของนายฮกหรือสมบัติและนางสมใจ(เก้าวงศ์วาร)
พงษ์ไพบูลย์ บิดาเป็นหลงจู๊โรงฝิ่น แต่ภายหลังบิดากับมารดาหย่าร้างกัน

ครอบครัวของเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ชอบการแต่งโคลงกลอน ชอบดนตรีไทย มารดาชอบอ่านวรรณคดี เขาจึงอ่านหนังสือได้ตั้งแต่อยู่ชั้นประถมปีที่ 1 เป่าขลุ่ยได้ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ศึกษาประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดบ้านทวน และจบชั้นมัธยมปีที่ 6 จากโรงเรียนวิสุทธรังสี จังหวัดกาญจนบุรี เรียนมัธยมปีที่ 7
ที่โรงเรียนพิชัยญาติ กรุงเทพฯ แล้วย้ายไปเรียนต่อชั้นมัธยมปีที่ 8 ที่โรงเรียนทวีธาภิเศก โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา, จบปริญญาตรีนิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เมื่อศึกษาจบก็ได้กลับไปบวชที่วัดทุ่งสมอ จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างจำพรรษาได้ถือธุดงค์ไปศึกษาธรรมกับท่านพุทธทาสภิกขุ ณ สวนโมกขพลาราม อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฏร์ธานี และปริญญาศิลปศาสตร์กิตติมศักดิ์จากสหวิทยาลัยทราวดี (วิทยาลัยครูกาญจนบุรี) ปริญญาศิลปศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ภาษาและวรรณคดี) คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และปริญญาศิลปศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ภาษาไทย) คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เริ่มงานเขียนครั้งแรกเมื่อเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เนื่องจากได้พบโคลงที่บิดาเขียนไว้เมื่อครั้งยังหนุ่ม จึงอยากเขียนได้เช่นนั้นบ้าง ผลงานมีทั้ง ร้อยกรอง และร้อยแก้ว เมื่อเรียนอยู่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยอยู่ชุมนุมวรรณศิลป์มาก่อน

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ สมรสกับประคองกูล อิศรางกูร ณ อยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2514 มีบุตร 2 คน บุตรสาวคนโตชื่อ ประคำกรอง(เกี้ยว) บุตรชายคนเล็กชื่อแก้วเก้ว(เกล้า)

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ นักการเมืองและศิลปินชาวไทย ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 และ เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปีพุทธศักราช 2536 กวีรางวัลซีไรต์ อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ

 

การทำงานในคณะสมัชชาปฏิรูปประเทศ

นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ได้เข้ามามีบทบาททางการเมือง ภายหลังการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง พ.ศ. 2553 ยุติลง โดยเข้ามาทำหน้าที่เป็นคณะสมัชชาปฏิรูปประเทศ ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการ จำนวน 27 คน เพื่อรวบรวมข้อมูล รับฟังความคิดเห็น และนไปสู่นโยบายในการปฏิรูปประเทศไทย

 

ประวัติการศึกษา

  • ปริญญาตรี :นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศิลปศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วัฒนธรรมศึกษา) จากสหวิทยาลัยทราวดี มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  • ปริญญาเอก : ศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมาศักดิ์ (ภาษาและวรรณคดีไทย) คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมาศักดิ์ (ภาษาไทย) คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

การทำงาน

  • พ.ศ. 2507-2508 เริ่มทำงานในกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติเพื่อหารายได้พิเศษ
  • พ.ศ. 2511-2512 เป็นบรรณาธิการ นิตยสาร “วิทยาสาร” ของบริษัทไทยวัฒนาพานิช
  • พ.ศ. 2513 ได้แสดงภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่อง “พระอภัยมณี” ของสุนทรภู่ โดยรับบทพระอภัยมณี แต่แสดงไม่จบ
  • พ.ศ. 2514-2515 เป็นอาจารย์ประจำสอนวิชาการประพันธ์อย่างสร้างสรรค์ ที่ภาควิชาภาษาไทย ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดปัตตานี
  • พ.ศ. 516 เป็นพนังงานของธนาคารกรึงเทพจำกัด จนถึงปัจจุบัน โดยเป็นผู้ชำนาญการด้านวัฒนธรรม สังกัดศูยน์สังคีตศิลป์ ฝ่ายการประชาสัมพันธ์ ธนาคารกรุงเทพจำกัด ในตำแหน่งผู้ช่วยรองผู้จัดการ

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ได้เป็นอุปนายกสมคมภาษาและหนังสือ อุปนายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย อนุกรรมการด้านวัฒนธรรมภาครัฐบาลของสำนักเยาวชน (สยช.) ที่ปรึกษาด้านวัฒนธรรมผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และเคยเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีทบวงมหาวิทยาลัย

 

รางวัลที่ได้รับ :

  • พ.ศ. 2536 ได้รับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ สาขาย่อยกวีนิพนธ์ จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2516 บทกวี “อาทิตย์ถึงจันทร์” บันทึกเรื่องราวช่วง 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ได้รับรางวัลชมเชยพิเศษวรณกรรมบัวหลวงของธนาคารกรุงเทพจำกัด
  • พ.ศ. 2521 บทกวี “ชักม้าชนเมือง” ได้รับรางวัลดีเด่นงานสัปดาห์หสังสือแห่งชาติ
  • พ.ศ.2523 บทกวี “เพียงความเคลื่อนไหว” ได้รับรางวัลซีไรต์หรือวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน
  • พ.ศ. 2527 บทกวี “เพียงขลู่ยผิว” ได้รับรางวัลดีเด่นงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ

ผลงาน :  งานเขียนครั้งแรก

  • บทกลอนชื่อ “นกขมิ้น”

ผลงานรวมเล่มประเภทร้อยกรอง

  • คำหยาด
  • อาทิตย์ถึงจันทร์
  • เพียงความเคลื่อนไหว
  • ชักม้าชมเมือง
  • จารึก ร.ศ. ๒๐๐
  • เพลงขลุ่ยเหนือทุ่งข้าว
  • ตากรุ้งเรืองโพยม
  • ข้าวคลองค้นนายาว
  • นกขมิ้น
  • เพลงขลุ่ยผิว
  • เขียนแผ่นดิน ฯลฯ

ประเภทความเรียง

  • ที่นี่ขัดข้องหนอ
  • มุมที่ไม่มีเหลี่ยม
  • ดาบที่หมกอยู่ในจีวร
  • เจ้าประคุณเอ๋ย
  • มองพม่า
  • บังอบายเบิกฟ้า
  • ฝึกพื้นใจเมือง
  • นอกรั้วโรงเรียน
  • ลอดลายประแจจีน
  • เหยียบแผ่นดินหยก
  • ซอยเท้าเข้าญี่ปุ่น
  • แผ่วผ่านธารน้ำไหล
  • เรียงร้อยถ้อยคำ
  • ดังนั้นฉันจึงเขียน
  • ประคำกรอง
  • วารีดุริยางค์
  • กรุงเทพทวารวดี
  • แว่วไหลในสายลม
  • หยุดสักนิด คิดสักหน่อย หมุดหมายที่ ๑
  • หนึ่งได้แรงใจ ฯลฯ

ประเทศนวนิยาย

  • บ้านเก่า

เรื่องแปลและเขียนร่วมกับคนอื่น

  • คัมภีร์คุณธรรม (ร่วมกับสมเกียรติ สุขโข)
  • ส่องตะเกียง (ร่วมกับ ล.เสถียรสุด)
  • ห่วงหาอาทร (ร่วมกับสมเกียรติ สุขโขและ สโรชา)
  • ก.ข.ขับขาน (ร่วมกับวีระศักดิ์ ขุขันธิน)
  • 6 ตุลามหากาพย์ (ร่วมกับกลุ่มกวีร่วมสมัย)
  • วันฆ่านกพิราบ (ร่วมกับมหาสมภาร พรหมทา)

Loading

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *