ประวัติความเป็นมาของตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

หนองลู เป็นภาษากระเหรี่ยงเรียกว่า นุ่งลู่ หมายถึง ต้นไม้ชนิดหนึ่งซึ่งอยู่ในตระกูลต้นตาลลักษณะใบตรงโคนแคบ ตรงปลายขยายออกใหญ่ นำมาใช้มุ่งหลังคาบ้านของชาวกระเหรี่ยง ขึ้นตาบริเวณหนอง ทางจังหวัดชลบุรีเรียกว่าต้นก้อ ฉะนั้นคำว่าหนองลู หรือนุ่งลู่ หมายถึงต้นค้อ หรือต้นก้อที่ขึ้นอยู่ตามริมหนองตามประวัติศาสตร์ ตำบลหนองลู ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า ตั้งขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. ใด ตามตำนานคำบอกเล่าขานของผู้เฒ่าผู้แก่และผู้ใหญ่ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ ได้เล่าวว่า มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อว่า ต่องซู่ เป็นชนชาติไทยใหญ่ ได้ออกธุดงค์มาจากประเทศพม่า เข้ามาอาศัยอยู่ที่ช่วยโหว่ (แหล่งน้ำที่มีปูสีแดงชุกชุม) ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่เก่าแก่มีหลายกลุ่มเชื้อชาติอาศัยอยู่ เช่น มอญ ละว้า กะเหรี่ยง ต่องซู่ มอละข่า ลาว พม่า ฯลฯ ให้ความเคารพนับถือ พระภิกษุรูปนี้มาก ต่อมากิตติศัพท์ในด้านการอยู่ยงคงกระพัน และสามารถรักษาคนเจ็บไข้ได้ป่วยให้หายจงทำให้ชื่อเสียงแพระกระจายออกไปตามละแวกบ้านต่างๆ จนมีผู้คนเดินทางไปนมัสการ ไปฝึกวิชาความรู้ไปรักษาโรคภัยไข้เจ็บเป็นจำนวนมาก สถานที่ที่บ้านที่ช่วยโหว่ (ทิช่วยโหว่) จึงประกอบด้วยผู้คนมากมายสถานที่เดิมจึงคับแคบ จึงได้ขยายกว้างขึ้น ต่อมาผู้นำหรือหัวหน้าในหมู่บ้านนี้ จึงได้ให้ลูกหลานแต่ละคนได้กระจัดกระจายนำพรรคพวกหรือสมาชิกในครอบครัวให้ไปอยู่ในพื้นที่ที่อื่น บางพวกอพยพมาอยู่แถวลำน้ำบีคลี่ บางพวกอพยพิข้ามาอยู่แถวลำน้ำรันตี บางพวกอพยพมาอยู่แถวล้ำน้ำซองกาเลีย บางพวกมาอยู่แถวล้ำน้ำแควน้อย จึงทำให้เกิดกลุ่มชนขึ้นมา และตั้งชื่อตำบลหมู่บ้าน ละแวกบ้านตามสถานที่ที่สังเกตง่าย หรือตั้งชื่อผู้นำหรือหัวหน้า บางพื้นที่ตั้งชื่อตามสภาพทางภูมิศาสตร์

ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เป็นตำบลหนึ่งในสามตำบลของอำเภอสังขละบุรี ซึ่งเป็นอำเภอชายแดนด้านตะวันตกของประเทศไทย และเป็นจุดผ่อนปรนการค้ากับประเทศพม่า คือ จุดการค้าด่านเจดีย์สามองค์

          ประวัติหมู่บ้านชาวมอญในจังหวัดกาญจนบุรี

ชาวมอญ หรือ รามัญ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย ปัจจุบันตั้งถิ่นฐานอยู่กระจัดกระจายทั่วประเทศนับตั้งแต่ภาคเหนือของไทย ท้องถิ่นภาคกลาง และตลอดแนวตะเข็บชายแดนภาคตะวันตก ทั้งที่เป็นมอญเก่าคือกลุ่มที่เคลื่อนเข้ามาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และมอญใหม่คือกลุ่มที่เข้ามาสมัยรัตนโกสินทร์ บทความชิ้นนี้มุ่งทำความเข้าใจถึงกลุ่มชุมชนชาวมอญอพยพในอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี โดยพิจารณาถึงประวัติการอพยพย้ายถิ่นเข้าสู่ประเทศไทยและลักษณะสถานภาพบุคคลของชาวมอญพลัดถิ่นหมู่บ้านมอญ หรือที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า หมู่บ้านแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง หมู่ที่ 2 บ้านวังกะ ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี อันเป็นหมู่บ้านที่มีชาวมอญอาศัยอยู่กว่า 1000 ครอบครัว ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำซองกาเลียตรงข้ามที่ว่าการอำเภอสังขละบุรี ซึ่งอยู่บนฝั่งตะวันออก โดยเดินทางข้ามสะพานไม้ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นทางสัญจรของชาวบ้านระหว่าง ฝั่งอำเภอกับฝั่งหมู่บ้านมอญอันเป็นสัญลักษณ์สำคัญของหมู่บ้านมอญ บ้านวังกะ จนถึงทุกวันนี้ บริบททางประวัติศาสตร์เส้นทางการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศของชนชาวมอญและที่มาของเมืองสังขละบุรีแล้ว สามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วงเวลาคือ

ช่วงแรก ก่อน พ.ศ. 2490 เนื่องจากตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมืองสังขละบุรีมีฐานะเป็นเมืองหน้าด่าน ดังนั้นจึงสันนิษฐานได้ว่าอพยพเข้าออกของชาวมอญ กะเหรี่ยง พม่า แถบชายแดนถือเป็นเรื่องปกติเพราะสถานการณ์ทางพรมแดนรัฐไทยและพม่าในขณะนั้น ยังมีความยืดหยุ่น

ช่วงที่สอง ราวปี พ.ศ. 2490 เนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบและการสู้รบในพม่ารุนแรงมากขึ้นโดยมีชาวมอญกลุ่มแรกเริ่มอพยพเข้ามาประมาณ 30 ครัวเรือนที่บริเวณหมู่บ้านนิเถะซึ่งเป็นที่อยู่ของชุมชนชาวกะเหรี่ยงห่าง จากตัวอำเภอประมาณ 5 กิโลเมตร ชาวมอญกลุ่มต่อมาภายใต้การนำของหลวงพ่ออุตตมะได้เดินทางเข้ามาตั้งถิ่นฐาน บริเวณบ้านวังกะล่างโดยกระจายตั้งบ้านเรือนตามริมแม่น้ำ เมื่อมีจำนวนชาวมอญมากขึ้นจึงได้รับการจัดแบ่งที่ดินให้ปลูกบ้านเรือนอาศัย อยู่บริเวณสามประสบที่แม่น้ำสามสาย คือ ซองกาเลีย บีคลี่ และรันตี โดยความอนุเคราะห์ของปลัดเจริญซึ่งทำหน้าที่รักษาการหัวหน้ากิ่งอำเภอสังขละบุรีในขณะนั้น จึงมีการก่อตั้งเป็นชุมชนมอญขนาดใหญ่ขึ้น ต่อมาเมื่อมีการสร้างเขื่อนเขาแหลมคลอบคลุมพื้นที่อยู่อาศัยของชาวมอญนี้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตจึงมอบที่ดินชดเชย 614 ไร่ให้แก่วัด หลวงพ่ออุตตมะในฐานเจ้าอาวาสจึงได้จัดสรรพื้นที่วัดให้เป็นที่อยู่ของชาวมอญอพยพกว่า 400 ครอบครัวจนกระทั่งถึงทุกวันนี้

ช่วงที่สาม ตั้งแต่ พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา เป็นช่วงที่สถานการณ์ทางการเมืองในพม่าเข้มข้นขึ้น เนื่องจากรัฐบาลทาหารพม่าเข้ายึดอำนาจปกครองประเทศและเริ่มดำเนินนโยบายปราบปรามชนกลุ่มน้อยส่งผลให้สถานการณ์ชายแดนค่อนข้างตึงเครียด จึงมีชาวมอญอพยพหนีภาวะเสียงอันตรายเข้ามามากขึ้นขณะเดียวกันประเทศไทยก็มีนโยบายเปลี่ยนแปลงสนามรบเป็นสนามการค้าจึงส่งผลให้มีการเปิดการค้าบริเวณด่านพระเจดีย์สามองค์ และเมื่อการสู้ระบยุติลงในปี 2538 ตลาดการค้าชายแดนก็คึกคักยิ่งขึ้นส่งผลให้มีชาวมอญอพยพและหลบหนีเข้ามารับจ้างในไทยมากขึ้น

 

แหล่งอ้างอิง

สุรชัย วงษ์กรณ์ และคณธ. (2558). ศักยภาพทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของหมู่บ้านชาวมอญ ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

Loading

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *