การสวดพระมาลัยของชาวบ้านตำบลดอนแสลบ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี

การสวดพระมาลัยของชาวบ้านตำบลดอนแสลบ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี เป็นประเพณีเกี่ยวกับวิถีชีวิตในเรื่องของการตาบ การสวดพระมาลัยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อการอยู่เป็นเพื่อนเจ้าภาพเมื่อพระสงฆ์ได้ทำการสวดพระอภิธรรมศพเสร็จสิ้นแล้ว ทำให้งานศพไม่เงียบเหงา เจ้าบ้านหรือญาติของผู้ตายไม่ต้องเศร้าโศกจนเกินไปหากจะนั่งหรือนอนกันเฉยๆ จะทำให้งานศพเงียบเหงา หรือการเล่นการพนันจะไม่เหมาะสม จึงคิดหาวิธีทำให้งานศพไม่เงียบเหงา โดยจัดให้มีการสวดพระมาลัยขึ้น

ในการสวดพระมาลัยเริ่มต้นจากการตั้งวงมาเพื่ออ่านหนังสือพระมาลัย (เป็นกวีนิพนธ์ซึ่งร้อยกรองเพื่อการนี้โดยเฉพาะ) ส่วนใหญ่เป็นการประพันธ์แบบกาพย์กลอนในขั้นแรกนั้นการสวดพระมาลัยคงยึดเค้าเรื่องพระมาลัยจริงๆ ซึ่งเนื้องเรื่องมี ดังนี้

พระมาลัยเป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งมีฤทธิ์มากเคบไปโปรดสัตว์ในนรกและเทศสั่งสอนประชาชนทั่วไปให้ปฏิบัติดีเพื่อหลีกเลี่ยงนรก วันหนึ่งพระมาลัยรับดอกบัวจากชายคนหนึ่ง พระมาลัยนำดอกบัวไปบูชาพระเจดีย์จุฬามณีในวรรค์ชั้นดาวดึงส์และได้สนาทนากับพระอินทร์และได้ถามพระอินทร์ถึงเรื่องการประกอบกรรมดี การบำเพณ็กุศลต่างๆ ในที่สุดพระศรีอาริยเมตไตรได้ร่วมสนทนาด้วยโดยไตร่ถามความเป็นไปของโลกมนุษย์ และพระศรีอารย์ได้เทศน์ให้พระมาลัยฟังว่า “พระองค์จะเสด็จมาประกาศศาสนาเมื่อศาสนาของพระพุทธองค์สิ้นสุดลง 5000 ปีแล้วผู้ที่จะเกิดในศาสนานี้ได้ต้องทำบุญฟังเทศน์มหาชาติคาถาพันจบได้ (ทั้ง 13 กัณฑ์) เป็นต้น เมื่อหมดศาสนาของพระองค์จะเกิดกลียุค อายุคนทั้งโลกจะสั้นมากเพียง 5 -10 ปี เท่านั้น ครั้งผ่านกลียุคจะเกิดความอุดมสมบูรณ์ทั่วไปในระยะนี้เองที่พระศรีอารย์จะมาโปรดให้ทุกคนทำความดี พระมาลัยจึงนำมาเล่าให้ประชาชนทุกคนในชมพูทวีปฟัง

กระบวนการและพิธีกรรม

          การสวดพระมาลัยเริ่มสวดตั้งแต่หัวค่ำเมื่อพระสงฆ์สวดพระอภิธรรมจบและกับวัดไปแล้ว ผู้ที่อยู่ในงานศพหรือคณะที่จะสวดพระมาลัยจะตั้งวงสวดต่อ จนกระทั่งรุ่งเช้าจึงหยุดแต่เดิมผู้สวดในวงหนึ่งๆ มีจำนวน 4 คน มีตาลปัตรบังหน้าทุกคน เป็นแม่เพลง 2 คน เรียก “แม่คู่” และอีก 2 คน เรียกว่า “คู่หู” แม่เพลงนั่งหันหลังให้โลงศพ ลูกคู่นั่งหันข้างให้โลงศพ ลูกคู่มีหน้าที่ร้องรับการสวดของแม่เพลงแต่หากตอนใดที่แม่เพลงเห็นว่าสำคัญก็เปิดโอกาสให้ลูกคู่ออกท่าทางรำประกอบตอนนั้นด้วย การสดวบางตอนอาจมีการผสมโรงจากคนดูเพื่อความสนุกสนาน ส่วนเครื่องดนตรีน้อยวงที่จะมีส่วนใหญ่ใช้เสียงลูกคู่ทำเป็นเสียงประกอบต่างๆ ที่ต้องการบางวงจะมีเครื่องดนตรีประกอบ เช่น กลองรำมะนาและขลุ่ย ในระยะหลังการสวดพระมาลัยไท่ค่อยเป็นไปตามที่ปฏิบัติแต่เดิม ส่วนมากนิยมนั่งล้อมวงข้างหน้าศพจำนวนกี่คนก็ได้ไม่จำกัดว่าใครนั่งตำแหน่งไหน นั่งกันได้ตามสะดวกมีการผลัดกันร้องผลัดกันรับหรือไม่ก็ต่อกลอนกันทั้งวงไม่มีการใช้ตาลปัตรเหมือแต่ก่อน

 

แหล่งอ้างอิง

นายพวน  ศรีสนิท เลขที่ 95/2 หมู่ 1 ตำบลดอนแสลบ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี

Loading

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *