ความเป็นมาของหมู่บ้านทิพุเย ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

หมู่บ้านทิพุเย เป็นหมู่บ้านหนึ่งในตำบลชะแล หรือ ชะแล” (จากคำบอกเล่าของชัชวาล เกรียงแสนภู) เพี้ยนเสียงมาจากคำว่า “ชะแล่” คือชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งมีขึ้นอยู่บริเวณน้ำผุด ซึ่งเป็นต้นน้ำเมื่อนำมาต้นดื่มสีของน้ำจะเป็นสีแดง ตำบลชะแลอยู่ห่างจากตัวอำเภอทองผาภูมิประมาณ 35 กิโลเมตร เป็น 1 ในตำบลในเขตอำเภอทองผาภูมิเขตการปกครองแบ่งออกเป็น 7 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 บ้านห้วยเสือ หมู่ที่ 2 บ้านเกริงกระเวีย หมู่ที่ 3 บ้านทิพุเย หมู่ที่ 4 บ้านทุ่งเสือโทน หมู่ที่ 5 บ้านภูเตย หมู่ที่ 6 บ้านทุ่งนางครวญ และหมู่ที่ 7 บ้านชะอี้ เขตพื้นที่ตำบลชะแลมีอาณาเขตพื้นที่ติดกับท้องถิ่นใกล้เคียงคือ ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ ตำบลปรังเผล ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี ตำบลนาสวน อำเภอศรีสวัสดิ์ และตำบลสหกรณ์นิคม อำเภอทองผาภูมิ มีพื้นที่ตามรปะกาศกระทรวงมหาดไทยประมาณ 1,017,000 ไร่ หรือ 1627.2 ตารางกิโลเมตร เฉลี่ยประชากร 4 คนต่อ 1 ตารางกิโลเมตร หมู่บ้านทิพุเย อยู่ในหมู่ที่ 3 ของตำบลชะแล มีเนื้อที่ประมาณ 1730,017 ไร่ ใหญ่เป็นอันดับสองของตำบลรองจากหมู่บ้านทุ่งเสือโทน (ภาษากะเหรี่ยงเรียกทุ่งเสือโทนว่า “คลิตี๊” แปลว่าเสือตัวเดียว) บ้านทิพุเยล้อมภูเขาคูล่งวาพล่อง (เขาไผ่เข้าหลาม) กันทางเข้าหมู่บ้านซองกาเรียทอดตัวจากทิศใต้ ตะวันตกถึงทิศเหนือ ส่วนทางทิศเหนือไปทิศตะวันออกมีภูเขาอีก 2 ลูกเรียงต่อกันคือคูล่งวากรือ (เขาไผ่บง) และคูล่งโปตาน่า (ยังไม่ทราบคำแปล) ทำให้หมู่บ้านทิพุเยเป็นหมู่บ้านกลางหุบเขาคำว่าทิพุเยเป็นชื่อห้วย หมายถึง ห้วยที่มีต้นเต่าร้าง ชุมชนตั้งอยู่ริมห้วยประชาชนประกอบอาชีพทำไร่ข้าว (เขอะ) ไร่มันสวนยางไร่ข้าวโพด รับจ้างทั่วไป ก่อนปี พ.ศ. 2529 พท้นที่ยังไม่ถูกบุกเบิกขนาดนี้อดีตกำนัน (ชัชวาล เกรียงแสนภู) เล่าว่าก่อนหน้านี้ก่อนปี พ.ศ. 2529 ถ้าจะไป คลิตี้ (ทุ่งเสือโทน) ต้องเดินเท้าค้างคืนที่ห้วยเสือ 1 คืน เช้าเดินต่อถึงคลิตี้ราว 5 โมงเช้า การพึ่งพาตนเองบนความหลากหลายทางชีวภาพจากอดีตชาวบ้านทิพุเยเป็นคนไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงโพล่ว (โป หรือ Plow) ยังคงสืบทอดวัฒนธรรมการหาพืชอาหารจากแหล่งธรรมชาติมาบริโภคที่มีอยู่ริมห้วยชายป่า เช่น ผักกูด ผักหนาม มีการสืบทอดเพลงรำตง วัฒนธรรมการใช้สมุนไพรในการรักษาโรค เช่นใช้ว่านน้ำ (ทิที) รักษาอาการท้องขึ้นของเด็กเล็กๆ ส่วนวัฒนธรรมการแต่งกายถึงแม้จะมีชุดประจำเผ่าอยู่คนละชุดไว้ในงานสำคัญของชุมชนแต่ก็เริ่มต้องซื้อหาจากภายนอก พืชอาหารสมุนไพรและพืชท้องถิ่นที่นำมาใช้สอยก็หายากขึ้นไกลขึ้น วัฒนธรรมการบริโภคอาหารหลักเพียง 2 มื้อต่อวัน กับความหลากหลายของพืชอาหาร ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นเรื่องที่น่าสืบค้นหาคุณค่าและรักษาถึงแม้ในอดีต (สมัยรัชการที่ 5) ชาวบ้านพุทิเยร่วมถวายช้างเผือกแต่รัชการที่ 5 (กำนันช่องพลูได้รับมอบช้างจากนายทุ่งเกริง กำนันได้มอบให้พระศรีสุวรรณคีรีนำทูลถวายรัชการที่ 5) ในนามคนตำบลชะแลชาวบ้านทิพุเยได้รับการยกเว้นไม่ต้องเกณฑ์ทหาร แต่ถ้าอยากเป็นทหารสามารถสมัครได้ ประมาณปี พ.ศ. 2554 กำนันจึงทำเรื่องขอให้ผู้ชายไปเกณฑ์ทหาร แต่ก็ได้รับการยืนยันว่า คำสั่งพระเจ้าแผ่นดินยกเลิกไม่ได้” ต่อมาปี พ.ศ. 2555 จึงมีการเกณฑ์ทหารเนื่องด้วยผู้ชายที่ไปสมัครงานต้องใช้ใบผ่านการเกณฑ์ทหารถึงแม้ในอดีตจะไม่มีการเกณฑ์ทหารแต่ก็เฉพาะผู้ที่มีเชื้อสายกะเหรี่ยในหมู่บ้านเท่านั้นแม่กะเหรี่ยงพ่อไทยไม่อนุญาต เรื่องราวเหล่านี้มีต้นสายปลายเหตุที่น่าสนใจยิ่งจากอดีตชาวบ้านจะอยู่กระจัดกระจายแต่ละกลุ่ม ประมาณ 5 – 6 ครัวเรือนจนกระทั่งปี ร.ศ. 120 จึงจัดตั้งเป็นตำบลมีการอยู่เป็นกลุ่มใหญ่มากขึ้นมีกำนันปกครองต่อเนื่องมาจำนวน 9 คน จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2548 มีประชากร 405 คน (ชาย 210 คน หญิง 165 คน) จำนวนครอบครัว 90 ครอบครัวลดลงจากปี พ.ศ. 2545 จำนวน 11 ครอบครัวแต่ปี พ.ศ. 2556  นี้ คาคการณ์ว่ามีประมาณ 150 ครอบครัวนับถือศาสนาพุทธมีวัดทิพุเยเป็นศูนย์กลางมีศูนย์เด็กเล็ก 1 แห่ง (ข้อมูลจากคำบอกเล่า) อีกข้อมูลหนึ่งจากสำนักทะเบียนราษฎร อำเภอทองผาภูมิบ้านทิพุเย (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กุมภาพันธ์ 2550) มีจำนวนประชากร 530 คนประชากรมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือนใช้ระบบประปาและประปาภูเขา ซึ่งมีต้นน้ำมาจากลำห้วยทิพุเยชาวบ้านในหมู่บ้านใช้น้ำจากประปาภูเขาในการอุปโภคและบริโภค ปัจจุบันชาวบ้านใช้สารเคมีในการทำการเกษตรและป้องกันมากขึ้นโดยเฉพาะในหน้าฝนซึ่งมีวัชพืชขึ้นหนาแน่นและอาจมีการสะสมของสารพิษในแหล่งน้ำสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่ฉีดพ่นในพื้นที่สามารถแพร่กระจายลงสู้แหล่งน้ำได้ ส่วนใหญ่จะถูกพัดพาไปกับน้ำไหลบ่าหน้าดินซึ่งเป็นเส้นทางหลักที่นำพาสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชลงสู่แหล่งน้ำ โดยอัตราการไหลบ่าหน้าดินขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนและระยะเวลาที่ฝนตก น้ำไหลบ่าหน้าดินจะพัดพาอนุภาคดินที่ดูดซับสารเคมีให้ไหลไปกับน้ำโดยเฉพาะในฤดูฝนปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีในน้ำจะสูงมาก หากเกิดฝนตกในขณะที่มีการฉีดพ่นสารเคมีไปได้ไม่นาน เนื่องจากสารเคมีที่ฉีดพ่นนี้ยังไม่ถูกดูดซับโดยอนุภาคดิน อย่างไรก็ตามปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในน้ำไหลบ่าหน้าดินนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของสารเคมี ชนิดของพืชที่ปลูกความลาดชันของพื้นที่ตลอดจนองค์ประกอบของดินซึ่งมีส่วนสำคัญในการดูดซับสารพิษ ดินที่มีสารอินทรีย์มากจะดูดซับสารพิษได้ดีโดยทำให้เกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อนระหว่างสารพิษกับดินจึงเกิดการพัดพาไปได้น้อยแต่ถ้าอยู่ในรูปของอนุภาคจะเคลื่อนย้ายไปกับน้ำไหลบ่าหน้าดินได้ง่ายกว่า นอกจากนี้สารพิษยังสามารถตกค้างในพืชและสัตว์น้ำ

 

แหล่งอ้างอิง

สมัฤทธิ์ มากสง และคณะ. (2560). รายงานการวิจัยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการ บ้านทิพุเย อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี. กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

Loading

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *