ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฑัณฑิกา  ศรีโปฎก  ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีเล็งเห็นความสำคัญของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และความจำเป็นในการจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี เพื่อเป้นศูนย์ระดับท้องถิ่นทำงานเป็นเครือข่ายกับศูนย์อาเซียนศึกษาแห่งประเทสไทย และสถาบันอุดมศึกษาในประเทศสมาชิกอาเซียน เป็นแหล่งเรียนรู้และการศึกษาวิจัยที่เป็นประโยชน์ในการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอเซียนในปี พ.ศ. 2558 และเป็นแหล่งข้อมูลเพื่อการตัดสินใจด้านธุรกิจ การศึกษา การวิจัย ด้านสังคมและวัฒนธรรม นอกจากนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรียังตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการเชื่อมโยงทางการค้าระหว่างตะวันตกกับตะวันออก (East – West Corridor) ผ่านด่านน้ำพุร้อน สู่ท่าเรือน้ำลึกทวาย ประเทศเมียนมาร์ จึงมีบทบาทสำคัญในการเป็นศูนย์ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประเทศเมียนมาร์ ด้านตะวันตกของไทย และโครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย (Dawei Project)

ทั้งนี้ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี จึงจัดตั้งขึ้นตามโครงการศูนย์อาเซียนศึกษาภายใต้แผนงานบริหารจังหวัดและกลุ่มจังหวัด โดยเสนอขออนุมัติโครงการเมื่อการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 19 – 20 พฤษภาคม 2555 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ได้รับอนุมัติประมาณเป็นจำนวนเงิน 7,000,000 บาท (เจ็ดล้านบาทถ้วน) โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี โดยมีอธิการบดีเป็นประธานกรรมการ และผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นกรรมการและเลขานุการ

วิสัยทัศน์ของศูนย์อาเซียนศึกษา

          เป้นแหล่งความรู้และการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับอาเซียนของท้องถิ่นและเป็นเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านอาเซียนศึกษาแห่งประเทศไทย สถาบันการศึกษาและหน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและเอกชน และภาคประชาสังคม รวมทั้งประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ของประชาคมอาเซียน

วัตถุประสงค์

  1. เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียน โดยเฉพาะข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประเทศเมียนมาร์ และโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย
  2. เป็นศูนย์ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้เรื่องอาเซียน
  3. เป็นศูนย์ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เผยแพร่ความรู้และประชาสัมพันธ์เรื่องอาเซียนสู่สาธารณะทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ
  4. เป็นศูนย์ประสานงานความร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานภายนอกและสถาบันอุดมศึกษาในประเทศสมาชิกอาเซียน

โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี มอบหมายให้สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นผู้จัดตั้ง และรับผิดชอบดูแลศูนย์อาเซียนศึกษา ทั้งนี้ได้รับงบประมาณการดำเนินงานเกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างโดยปรับปรุงอาคารบรรณราชนครินทร์ ชั้น 1 ด้วยงานประมาณ 4,170,200 (สี่ล้านหนึ่งแสนเจ็ดหมื่นสองร้อยบาทถ้วย) โดยขณะนี้กำลังดำเนินการปรับปรุงในส่วนดังกล่าว และได้ทำการย้ายวารสาร หนังสือพิมพ์ไว้บริการชั่วคราวที่ ชั้น  4 ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ขณะนี้ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ได้มีการเตรียมก่อสร้างสถานที่ ครุภัณฑ์ และวัสดุ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน พร้อมทั้งการดำเนินงานด้านกิจกรรมต่างๆ ภายใต้วัตถุประสงค์ของศูนย์ เช่น การเตรียมการจัดประชุมสัมมนา การจัดนิทรรศการ และอื่นๆ มีมากมาย

สำหรับแหล่งความรู้และฐานข้อมูลของศูนย์อาเซียนศึกษา ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศประชาคมอาเซียน ทางสำนัวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศได้ประสานงานกับศูนย์เอกสารแห่งประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงฐานข้อมูลในการให้บริการ อย่างไรก็ตามศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี จะเน้นข้อมูลเกี่ยวกับประเทศเมียนมาร์ โดยจัดทำฐานข้อมูลและเว็บไซต์เพื่อรองรับโครงการทวายโปรเจคที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเมื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีพร้อมแล้วที่จะเป็นศูนย์กลางอาเซียนของจังหวัดกาญจนบุรี ที่เป็นแหล่งรวบรวมความรู้ข้อมูลเชิงลึกประชาคมอาเซียนหนึ่งเดียวในภาคตะวันตก

 

แหล่งอ้างอิง

          ศูนย์อาเซียนศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. ข่าวม้าเร็ว. ปีที่ 15 ฉบับที่ 435 วันอังคารที่ 19 มีนาคม 2556.

Loading

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *