Home

บวชนาคไทยแท้บ้านหนองขาว เมืองกาญจน์

ชาวมอญเป็นผู้ที่มีความรู้ทางศาสนาและประเพณี มีการบันทึกความรู้วิทยาการต่างๆ ทั้งเรื่องศาสนา ประเพณีวัฒนธรรม ประวัติสถานที่ บุคคล ตลอดจนวรรณคดีและตำราต่างๆ ลงในคัมภีร์ใบลานและสมุดข่อย ปรากฎให้เห็นทั่วไปตามวัดต่างๆ เอกสารเหล่านี้ช่วยในการบอกเล่าประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตลอดจนภูมิปัญญาได้อย่างดี ดังพบว่าคัมภีร์ใบลานเก่าสุดของวัดม่วงระบุว่าจารที่วัดม่วง พ.ศ. 2181 ตรงกับรัชกาลสมเด็จพระเจ้าประสาททองในสมัยอยุธยา การอพยพของชาวมอญสู่ไทยนั้นมีการเข้ามาหลายระลอก และทุกครั้งทางการไทยก็ให้การต้อนรับพร้อมจัดตั้งให้อยู่ในไทยอย่างดี เนื่องจากชาวมอญเป็นกำลังสำคัญในการช่วยไทยรบกับพม่าเสมอมา นับตั้งแต่สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยกรุงเทพฯ

Loading

ภูมิปัญหาความเชื่อเกี่ยวเรื่องหม้อตาหม้อยายของชุมชนหนองขาวจังหวัดกาญจนบุรี

คนบ้านหนองขาว อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี เชื่อกันว่าพวกตนเป็นคนไทยแท้แต่โบราณ ไม่ได้อพยพมาจากไหน อยู่อาศัยกันมาที่นี่แต่โบราณ อย่างน้อยก็ตั้งแต่สมัยอยุธยา เป็นคนไทยที่ไม่มีเชื้อสายคนชาติใดปน ในขณะที่นักวิชาการระบุว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีเชื้อมอญ เพราะสำเนียงพูดเหน่อต่ำต่างจากคนท้องถิ่นเมืองกาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี หรือนครปฐม ที่ต่างก็เหน่อไปคนละแบบ รวมทั้งความเชื่อเรื่องหม้อตาหม้อยาย ที่คล้ายกับความเชื่อเรื่องผีบรรพชนของมอญ สอดคล้องกับพระครูถาวรกาญจนนิมิต (จีระศักดิ์ อึ้งตระกูล) อดีตเจ้าอาวาสวัดอินทาราม

Loading

ประเพณีสงกรานต์แห่ปราสาทผึ้ง

ความเป็นมาและความเชื่อ ประเพณีแห่ปราสาทผึ้งเป็นประเพณีนิยมที่ทำกันมาแต่โบราณด้วยเหตุผลหรือคติที่ว่าเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่อตั้งความปรารถนาไว้ หากเกิดในภพมนุษย์ขอให้มีปราสาทราชมณเฑียรอาศัยอยู่ด้วยความมั่งมีศรีสุข ถ้าเกิดในสวรรค์ขอให้มีปราสาทอันสวยงามมีนางฟ้าแวดล้อมเป็นบริวารจำนวนมาก และเพื่อรวมพลังสามัคคีทำบุญทำกุศลร่วมกันพบประสนทนากันฉันท์พี่น้อง และเพื่อเป็นการประกาศหลักศีลธรรมทางบุญทางกุศลให้ปรากฏ ประเพณีแห่ปราสาทผึ้งเป็นประเพณีที่ชาวบ้านตำบลหนองปรือ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านานแล้วสันนิษฐานว่าเกิดขึ้นหลังจากที่ได้มีการก่อตั้งวัดหนองปรือซึ่งก่อตั้งมาประมาณ 60 ปีเศษชาวบ้านหนองปรือ ดั้งเดิมส่วนใหญ่เป็นชนชาวลาวและมีชนชาวเผ่ากระเหรี่ยงอยู่บ้างเป็นส่วนน้อย สำหรับชนชาวลาวที่อาศัยอยู่ในอำเภอหนองปรือจะสืบเชื้อสายมาจากนครเวียงจันทน์ เมืองหลวงของประเทศลาวสมัยนั้นมีข่าวเล่ากันว่านครเวียงจันทน์แตก เพราะถูกข้าศึกรุกรานผู้คนจึงอพยพหนีไปคนละทิศละทาง ส่วนหนึ่งของชนชาวลาวที่หนีข้ามแม่น้ำโขงเข้ามาทางฝั่งไทยและพากันอพยพลงมาเรื่อยๆ และปักหลักสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยส่วนหนึ่งได้พากันมาตั้งบ้านเรือนขึ้นที่บ้านหนองปรือ ตำบลหนองปรือ

Loading

ประเพณีร่อยพรรษา อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี

ความเป็นมาและความเชื่อ ประเพณีร่อยพรรษา เป็นประเพณีดั้งเดิมหลายยุคหลายสมัย ก่อนจะออกพรรษาของทุกปีจะมีผู้สูงอายุรวมกลุ่มกัน กลุ่มละประมาณ 5 – 6 คน แล้วเดินร้องเพลงด้นสดไปตามบ้านต่างๆ ทั้งในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียง จากการสัมภาษณ์พ่อเพลงแม่เพลงเล่าว่า เพลงร่อยพรรษามีประวัติความเป็นมาอย่างไรและมีมาตั้งแต่เมื่อใดไม่แน่ชัด หากแต่กล่าวเป็นทำนองเดียวกันว่า มีมาตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นปู่แล้ว หากคำนวณอายุจะเห็นว่าร้องเล่นกันมาแล้วไม่ต่ำกว่า 150 – 200 ปี

Loading

บ้านอีต่อง “บ้านเทพเจ้าแห่งขุนเขา” อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

ประวัติความเป็นมาของชุมชน ที่มาของชื่อหมู่บ้าน “อีต่อง” เพี้ยนมาจากคำว่า “ณัตเอ่งต่อง”  โดยคำว่า “ณัต”  แปลว่าเทพเจ้าหรือเทวดา ส่วนคำว่า “เอ่ง” แปลว่า บ้าน และคำว่า “ต่อง” แปลว่า ภูเขา (ทินกร, สัมภาษณ์, 18 ตุลาคม

Loading

1 7 8 9 13

วีดีโอ-rLOCAL

เรื่องเก่าชาวห้วยสะพาน เล่าขานประเภณี

นวัตกรรมเครื่องออกกำลังกายเทศบาลตำบลท่าไม้กาญจนบุรี