ภาพเขียนสีโบราณ ๓,๐๐๐ ปี บ้านโป่งหวาย
ประวัติความเป็นมา ภาพเขียนที่ผนังผาแดง อยู่ในเขตบ้านโป่งหวาย หมู่ที่ ๕ ตำบลด่านแม่แฉลบ อำเภอศรีสวัสดิ์ ภาพเขียนที่ผนังผาแดงมีอายุราว ๓,๐๐๐ ปี อยู่ในยุคหินใหม่ตอนปลาย ภาพกว้างประมาณ ๑-๒ ตารางเมตร สีแดงนำมาเขียนเป็นพวกยางไม้หรือเลือดนก เป็นภาพที่เขียนด้วยสีแดงคล้ายกับสีแดงที่เขียนในภาพที่พบในถ้ำตาด้วง และพบในเวลาไล่เลี่ยกัน ภาพเขียนที่ผนังผาแดงเป็นภาพบุคคล มาชุมนุมกันคล้ายกับทำพิธีบางอย่าง หรือมีงานรื่นเริงบุคคลในภาพมีเครื่องประดับศีรษะ
เจดีย์พุทธคยา
ประวัติความเป็นมา เจดีย์พุทธคยา เป็นเจดีย์จำลอง มีขนาดเล็กกว่าเจดีย์พุทธคยาองค์จริงที่อินเดีย มีลักษณะฐานเป็นทรงเหลี่ยมจัตุรัส ด้านหน้าเจดีย์มีรูปปั้นสิงห์ที่เป็นศิลปะแบบมอญ 2 ตัว ยืนเฝ้าบันไดทางขึ้นที่ทอดยาวพาขึ้นสู่ตัวเจดีย์ มีความเชื่อว่าจะคอยปกป้องเจดีย์อยู่สองข้างบันไดทางเข้า มีความสวยและงดงาม บนยอดพระเจดีย์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่พระราชอุดมมงคล (หลวงพ่ออุตตมะ) อัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกาเพื่อให้ประชาชนทั่วไปและชาวมอญในอำเภอสังขละบุรีได้สักการะบูชา
ผักกางมุ้งของบริษัทกำแพงแสนคอมเมอร์เชียบ
สถานที่ตั้ง บริษัทกำแพงแสนคอมเมอร์เชียบ 222 หมู่ 15 ตำบลหลุมรัง อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี บริษัทได้ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2547 โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งผักส่วนใหญ่ไปขายยังต่างประเทศ จึงต้องผลิตสินค้าให้มีมาตรฐาน มีพื้นที่เพาะปลูกเพียงพอ ตามมาตรฐานสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (EuroGAP) การปลูกพริก สถานการณ์ทั่วไป
รำตง
ความเป็นมา รำตง เป็นการละเล่นของชาวกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในอำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิแบะอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี “ตง” เป็นการออกเสียงตามภาษาไทยชาวกะเหรี่ยงจะออกเสียงว่า “โตว” คำว่า ตง หรือ โตว นี่คงจะมาจากเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงซึ่งทำด้วยไม้ไผ่ ยาว 1 ปล้อง เจาะเป็นช่องตรงกลางเพื่อให้เกิดเสียงดังกังวาน “การละเล่นรำตง” เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง (โปว์)
ประวัติชุมชนหมู่บ้านวังกะ
ประมาณปี พ.ศ. 2490 ชาวมอญได้อพยพเข้ามาจากเมืองมะละแหม่ง ผ่านทางด่านเจดีย์สามองค์และแม่น้ำบีคลี่ และไปรวมตัวกันอยู่ที่หมู่บ้านนิเถะ ต่อมาชาวมอญกลุ่มใหม่ตามมาในระยะเวลาอันใกล้ โดยใช้เส้นทางบ้านอีต่อง อำเภอทองผาภูมิ เมื่อชาวมอญมีจำนวนมากขึ้นได้เริ่มจากหลวงพ่ออุตตมะนำประชาชนมารวมกันอยู่ ณ ตำแหน่งแม่น้ำสามสาย ได้แก่ แม่น้ำซองกาเรีย แม่น้ำบีคลี่ และแม่น้ำรันตีที่มาบรรจบกัน ณ ฝั่งแม่น้ำสามาประสบ ตรงข้ามกับฝั่งอำเภอสังขละบุรี หลวงพ่ออุตตมะได้จัดสรรที่ดินให้ได้อยู่อาศัย
หมวดหมู่
- Uncategorized (1)
- กลุ่มองค์กรประชาชน (2)
- การบริการวิชาการแก่สังคม (1)
- การศึกษา (9)
- การเมืองกาปกครอง (5)
- ข้อมูลท้องถิ่น (38)
- ข่าวประชาสัมพันธ์ (11)
- บุคคลสำคัญ/ปราชญ์ชาวบ้าน (9)
- ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น (34)
- ประเพณีและวัฒนธรรม (28)
- ภูมิปัญญาชาวบ้าน (13)
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (1)
- เกษตรกรรม (3)
- เศรษฐกิจและอุตสาหกรรม (7)
- แหล่งท่องเที่ยว (9)
- โบราณสถานวัตถุ (14)
วีดีโอ-rLOCAL
เรื่องเก่าชาวห้วยสะพาน เล่าขานประเภณี
นวัตกรรมเครื่องออกกำลังกายเทศบาลตำบลท่าไม้กาญจนบุรี