โรงเรียนวัดเขารักษ์

โรงเรียนวัดเขารักษ์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 5  ตำบลดอนแสลบ  อำเภอห้วยกระเจา  จังหวัดกาญจนบุรี  บริเวณโดยรอบ เป็นชุมชนแบบชนบท ทางทิศตะวันออกติดถนนสายเลาขวัญ-ตลาดใหม่ และ  เขารักษ์ – ตลาดเขต   ทิศตะวันตกติดภูเขาซึ่งเป็นที่ตั้งของโบราณสถาน “ พระปรางค์เขารักษ์ ”   ทิศเหนือติดวัดเขารักษ์ ทิศใต้ติดที่ ทำการกลุ่มเกษตรกรทำนาตำบลดอนแสลบ

Loading

Read more

ผักกางมุ้งของบริษัทกำแพงแสนคอมเมอร์เชียบ

สถานที่ตั้ง           บริษัทกำแพงแสนคอมเมอร์เชียบ 222 หมู่ 15 ตำบลหลุมรัง อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี บริษัทได้ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2547 โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งผักส่วนใหญ่ไปขายยังต่างประเทศ  จึงต้องผลิตสินค้าให้มีมาตรฐาน มีพื้นที่เพาะปลูกเพียงพอ ตามมาตรฐานสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (EuroGAP) การปลูกพริก           สถานการณ์ทั่วไป

Loading

Read more

รำตง

ความเป็นมา รำตง เป็นการละเล่นของชาวกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในอำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิแบะอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี “ตง” เป็นการออกเสียงตามภาษาไทยชาวกะเหรี่ยงจะออกเสียงว่า “โตว” คำว่า ตง หรือ โตว นี่คงจะมาจากเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงซึ่งทำด้วยไม้ไผ่ ยาว 1 ปล้อง เจาะเป็นช่องตรงกลางเพื่อให้เกิดเสียงดังกังวาน “การละเล่นรำตง” เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง (โปว์)

Loading

Read more

ประวัติชุมชนหมู่บ้านวังกะ

ประมาณปี พ.ศ. 2490 ชาวมอญได้อพยพเข้ามาจากเมืองมะละแหม่ง ผ่านทางด่านเจดีย์สามองค์และแม่น้ำบีคลี่ และไปรวมตัวกันอยู่ที่หมู่บ้านนิเถะ ต่อมาชาวมอญกลุ่มใหม่ตามมาในระยะเวลาอันใกล้ โดยใช้เส้นทางบ้านอีต่อง อำเภอทองผาภูมิ เมื่อชาวมอญมีจำนวนมากขึ้นได้เริ่มจากหลวงพ่ออุตตมะนำประชาชนมารวมกันอยู่ ณ ตำแหน่งแม่น้ำสามสาย ได้แก่ แม่น้ำซองกาเรีย แม่น้ำบีคลี่ และแม่น้ำรันตีที่มาบรรจบกัน ณ ฝั่งแม่น้ำสามาประสบ ตรงข้ามกับฝั่งอำเภอสังขละบุรี หลวงพ่ออุตตมะได้จัดสรรที่ดินให้ได้อยู่อาศัย

Loading

Read more

ในหลวงพระราชินีเสด็จฯทรงเปิดโครงการจัดหาน้ำบาดาลแก้ปัญหาภัยแล้งฯ จ.กาญจนบุรี

       “อีสานภาคกลาง” คือ สมญานามของพื้นที่ 5 อำเภอในจังหวัดกาญจนบุรี ได้แก่ ห้วยกระเจา เลาขวัญ หนองปรือ บ่อพลอย และพนมทวน เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าพื้นที่ดังกล่าวตั้งอยู่บริเวณเขตเงาฝน ทำให้ในแต่ละปี มีปริมาณฝนตกเฉลี่ยต่ำกว่าพื้นที่โดยทั่วไป  นอกจากนี้พื้นดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย ทำให้เก็บน้ำไม่อยู่ ในช่วงหน้าแล้งของทุกปีชาวบ้านจะเดือดร้อนเรื่องน้ำเป็นอย่างมาก

Loading

Read more

บ้านป่านางเย้อ ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

บ้านป่านางเย้อ หมู่ที่ 6 ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นหมู่บ้านเก่าแก่แห่งหนึ่งในตำบลหนองบัว ที่มาคำว่า “ป่านางเย้อ” เป็นการเรียกชื่อตามบริบทของหมู่บ้านเนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีต้นเย้อขึ้นเป็นจำนวนมากต้นเย้อเป็นพืชประเภทไม้เลื้อย ขึ้นในป่าในอดีตชาวย้ายมักเรียกชื่อหมู่บ้านดังกล่าว “บ้านป่าอีเย้อ” แต่ฟังดูไม่สุภาพจึงเปลี่ยนมาเป็น “บ้านป่านางเย้อ” ลักษณะของหมู่บ้านป่านางเย้อมีภูเขาสลับกับพื้นที่ราบเชิงเขาและพื้นที่ราบริมฝั่งแม่น้ำ มีแม่น้ำพื้นที่ คือ ชุมชนยังคงยึดอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ดำรงชีวิตจากการพึ่งพาอาศัยฐานทรัพยากรท้องถิ่นด้วยภูมิปัญญาแบบดั้งเดิม ยึดกฎเกณฑ์ความสัมพันธ์ระบบเครือญาติ

Loading

Read more

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เสด็จไปทรงเปิดอาคาร “พัชรปัญญา” อาคารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

               วันที่ 27 เมษายน 2565 เวลา 15.00 น. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เสด็จไปทรงเปิดอาคาร

Loading

Read more

ประเพณีทรงเจ้าตำบลบ้านเก่า

ประเพณีทรงเจ้าตำบลบ้านเก่า เดิมทีมีศาลไม้เก่าใกล้บริเวณท่าน้ำบ้านเก่าและชาวบ้านก็ไม่ทราบว่าใครสร้างเอาไว้ แต่ชาวบ้านก็ให้ความสำคัญนับถือศาลตลอดมา  ต่อมาได้มีเจ้าองค์แรกที่จับทรงหรือเลือกร่างทรงเพื่อเป็นสื่อกลางในการทำพิธีต่างๆ  คือเจ้าพ่อเขาแก้ว ร่างทรงเป็นนายแล่น รื่นกลิ่น หลังจากนั้นก็เริ่มมีเจ้าเริ่มจับคนทรงเพิ่มมากขึ้นเลื่อยๆ การแต่งกายของร่างทรงในขณะเจ้าขึ้นทรง โดยทั้งเจ้าพ่อและเจ้าแม่ มีการแต่งกายร่างทรงเหมือนกัน ได้แก่ ผ้านุ่งเป็นผ้าพื้นเดียวมีสีสันหรืออาจมีลวดลายและมีวิธีการนุ่งเหมือนกับการนุ่งสบงของพระสงฆ์ ผ้าคาดผ้านุ่ง เป็นผ้าพื้นเล็กใช้สำหรับรัดผ้านุ่งตรงเอว สไบ เป็นผ้าที่มีสีสันต่างๆ ใช้คาดทางหัวไหล่ซ้ายและให้ห้อยมาทางขวามือ ผ้าเช็ดหน้า 2

Loading

Read more

ประวัติชุมชนบ้านตลิ่งแดง ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

บ้านตลิ่งแดงเป็นชุมขนค้าขายมาตั้งแต่งดั้งเดิม ที่ตั้งชุมชนบางส่วนติดแม่น้ำแควใหญ่ มีท่าเรือใหญ่ 2 ท่า เพื่อขึ้นล่องสินค้าที่มาจากป่าต้นแม่น้ำแควใหญ่ อำเภอศรีสวัสดิ์ สำหรับที่มาของชื่อหมู่บ้านเกิดจาพ่อค้าที่นำแพไม้ซุง ไม้ไผ่ ไม้รวก ล่องลงมาจากศรสวัสดิ์เพื่อไปขายยังตัวเมือง มักจะหยุดพักที่ท่าน้ำเพื่อลากแพขึ้นฝั่งเป็นลำๆ ขึ้นมาผูกใหม่ ดินริมตลิ่งซึ่งเป็นลูกรังสีแดงถูกลากจนตลิ่งพังและกลายเป็นชื่อชุมชนบ้านตลิ่งแดงมาจนถึงปัจจุบัน (สัมภาษณ์ผู้ใหญ่บ้านตลิ่งแดง) ช่วงปี พ.ศ. 2449 จนถึง พ.ศ.

Loading

Read more

นายอุดม ข้องม่วง ปราชญ์ชาวบ้าน/ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการร้องเพลงขอทาน

นายอุดม ข้องม่วง ปราชญ์ชาวบ้าน/ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการร้องเพลงขอทาน เพลงขอทาน เพลงขอทานบ้านสมุน ตำบลพิหารแดง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ร้องเล่นกันในหมู่บ้าน ตนเองเป็นผู้เขียนเนื้อเพลง โดยเนื้อเพลงขึ้นอยู่กับ สถานการณ์ต่าง ๆ ว่าร้องในโอกาสอะไร ร้องเพื่อเชิดชูเกียรติให้ใคร หรือจะบอกเล่าเรื่องอะไร สามารถที่จะเขียนได้หมด อย่างเช่น กลุ่มศิลปินเพลงขอทานบ้านสมุน

Loading

Read more