ประวัติและที่ตั้งหมู่บ้านสามร้อยไร่ ตำบลหนองปลาไหล อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี

ชุมชนบ้านสามร้อยไร่เป็นชุมชนตั้งใหม่เดิมพื้นที่เป็นส่วนหนึ่งของหมู่ 4 ตำบลหนองปลาไหล และได้แยกออกมาเป็นหมู่บ้านสามร้อยไร่อย่างเป็นทางการ เมื่อปี พ.ศ. 2534 ส่วนชื่อหมู่บ้านสามาร้อยไร่มีที่มาเกิดจากการอพยพของชาวนครปฐมในอดีตที่เข้ามาซื้อที่ดิน จำนวน 300 ไร่ แล้วมีการเรียกกลุ่มที่มาซื้อที่ดินและตั้งถิ่นฐานบริเวณนั้นว่า “บ้านสามร้อยไร่” โดยปัจจุบันมีนายมานะ  อินทรมณี เป็นผู้ใหญ่บ้าน (มานะ อินทรมณี, 2557) ที่ตั้งของหมู่บ้านสามร้อยไร่

Loading

Read more

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

           ในสมัยที่ตั้งเมืองใหม่ พ.ศ. ๒๓๗๔ บริเวณศาลเจ้าพ่อหลักเมืองในปัจจุบัน ถูกเรียกว่า “หน้าเมือง” และสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้ชาวญวนที่อพยพลี้ภัย ได้เข้าตั้งบ้านเรือนในบริเวณหน้าเมืองนี้ด้วยพิธีสักการะศาลเจ้าพ่อหลักเมืองได้กระทำติดต่อมาแต่ครั้งโบราณกาลแล้ว ฉะนั้นความขลังความศักดิ์สิทธิ์จึงมาเป็นอันดับหนึ่ง ถือว่าเป็นโบราณวัตถุที่สำคัญคู่บ้านคู่เมือง เป็นที่เคารพสักการะ และนับถือศักดิ์สิทธิ์เป็นที่รวมวิญญาณของชาวเมืองกาญจนบุรี สามารถดลบันดาลให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขแก่ชาวเมืองกาญจนบุรีอักษรจารึกหลักศิลาเมืองกาญจน์ ณ ศาลหลักเมืองกาญจนบุรี           ” ปีมะโรงจัตวาศก

Loading

Read more

บวชนาคไทยแท้บ้านหนองขาว เมืองกาญจน์

ชาวมอญเป็นผู้ที่มีความรู้ทางศาสนาและประเพณี มีการบันทึกความรู้วิทยาการต่างๆ ทั้งเรื่องศาสนา ประเพณีวัฒนธรรม ประวัติสถานที่ บุคคล ตลอดจนวรรณคดีและตำราต่างๆ ลงในคัมภีร์ใบลานและสมุดข่อย ปรากฎให้เห็นทั่วไปตามวัดต่างๆ เอกสารเหล่านี้ช่วยในการบอกเล่าประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตลอดจนภูมิปัญญาได้อย่างดี ดังพบว่าคัมภีร์ใบลานเก่าสุดของวัดม่วงระบุว่าจารที่วัดม่วง พ.ศ. 2181 ตรงกับรัชกาลสมเด็จพระเจ้าประสาททองในสมัยอยุธยา การอพยพของชาวมอญสู่ไทยนั้นมีการเข้ามาหลายระลอก และทุกครั้งทางการไทยก็ให้การต้อนรับพร้อมจัดตั้งให้อยู่ในไทยอย่างดี เนื่องจากชาวมอญเป็นกำลังสำคัญในการช่วยไทยรบกับพม่าเสมอมา นับตั้งแต่สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยกรุงเทพฯ

Loading

Read more

สถานภาพตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

๑.๑ ข้อมูลพื้นฐาน / ข้อมูลทั่วไป ตำบลหนองบัวเป็นตำบลเก่าแก่แห่งหนึ่งของอำเภอเมืองกาญจนบุรี โดยได้ชื่อว่าตำบลหนองบัว เนื่องจากว่าบริเวณใกล้วัดศรีอุปลาราม มีหนองน้ำซึ่งมีดอกบัวขึ้นอยู่มากมาย จึงทำให้ผู้ที่ผ่านไปมาเรียกว่า บ้านหนองบัว และมีการตั้งชุมชนมากขึ้นจนเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอเมืองกาญจนบุรี ตำบลหนองบัวได้แบ่งพื้นที่ออกเป็น ๘ หมู่บ้าน สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นภูเขา ที่ราบเชิงเขา และที่ราบริมฝั่งแม่น้ำ มีแม่น้ำแควใหญ่ไหลผ่าน ๑.๑.๑ เขตพื้นที่

Loading

Read more

ภูมิปัญหาความเชื่อเกี่ยวเรื่องหม้อตาหม้อยายของชุมชนหนองขาวจังหวัดกาญจนบุรี

คนบ้านหนองขาว อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี เชื่อกันว่าพวกตนเป็นคนไทยแท้แต่โบราณ ไม่ได้อพยพมาจากไหน อยู่อาศัยกันมาที่นี่แต่โบราณ อย่างน้อยก็ตั้งแต่สมัยอยุธยา เป็นคนไทยที่ไม่มีเชื้อสายคนชาติใดปน ในขณะที่นักวิชาการระบุว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีเชื้อมอญ เพราะสำเนียงพูดเหน่อต่ำต่างจากคนท้องถิ่นเมืองกาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี หรือนครปฐม ที่ต่างก็เหน่อไปคนละแบบ รวมทั้งความเชื่อเรื่องหม้อตาหม้อยาย ที่คล้ายกับความเชื่อเรื่องผีบรรพชนของมอญ สอดคล้องกับพระครูถาวรกาญจนนิมิต (จีระศักดิ์ อึ้งตระกูล) อดีตเจ้าอาวาสวัดอินทาราม

Loading

Read more

ประเพณีสงกรานต์แห่ปราสาทผึ้ง

ความเป็นมาและความเชื่อ ประเพณีแห่ปราสาทผึ้งเป็นประเพณีนิยมที่ทำกันมาแต่โบราณด้วยเหตุผลหรือคติที่ว่าเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่อตั้งความปรารถนาไว้ หากเกิดในภพมนุษย์ขอให้มีปราสาทราชมณเฑียรอาศัยอยู่ด้วยความมั่งมีศรีสุข ถ้าเกิดในสวรรค์ขอให้มีปราสาทอันสวยงามมีนางฟ้าแวดล้อมเป็นบริวารจำนวนมาก และเพื่อรวมพลังสามัคคีทำบุญทำกุศลร่วมกันพบประสนทนากันฉันท์พี่น้อง และเพื่อเป็นการประกาศหลักศีลธรรมทางบุญทางกุศลให้ปรากฏ ประเพณีแห่ปราสาทผึ้งเป็นประเพณีที่ชาวบ้านตำบลหนองปรือ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านานแล้วสันนิษฐานว่าเกิดขึ้นหลังจากที่ได้มีการก่อตั้งวัดหนองปรือซึ่งก่อตั้งมาประมาณ 60 ปีเศษชาวบ้านหนองปรือ ดั้งเดิมส่วนใหญ่เป็นชนชาวลาวและมีชนชาวเผ่ากระเหรี่ยงอยู่บ้างเป็นส่วนน้อย สำหรับชนชาวลาวที่อาศัยอยู่ในอำเภอหนองปรือจะสืบเชื้อสายมาจากนครเวียงจันทน์ เมืองหลวงของประเทศลาวสมัยนั้นมีข่าวเล่ากันว่านครเวียงจันทน์แตก เพราะถูกข้าศึกรุกรานผู้คนจึงอพยพหนีไปคนละทิศละทาง ส่วนหนึ่งของชนชาวลาวที่หนีข้ามแม่น้ำโขงเข้ามาทางฝั่งไทยและพากันอพยพลงมาเรื่อยๆ และปักหลักสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยส่วนหนึ่งได้พากันมาตั้งบ้านเรือนขึ้นที่บ้านหนองปรือ ตำบลหนองปรือ

Loading

Read more

ประเพณีร่อยพรรษา อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี

ความเป็นมาและความเชื่อ ประเพณีร่อยพรรษา เป็นประเพณีดั้งเดิมหลายยุคหลายสมัย ก่อนจะออกพรรษาของทุกปีจะมีผู้สูงอายุรวมกลุ่มกัน กลุ่มละประมาณ 5 – 6 คน แล้วเดินร้องเพลงด้นสดไปตามบ้านต่างๆ ทั้งในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียง จากการสัมภาษณ์พ่อเพลงแม่เพลงเล่าว่า เพลงร่อยพรรษามีประวัติความเป็นมาอย่างไรและมีมาตั้งแต่เมื่อใดไม่แน่ชัด หากแต่กล่าวเป็นทำนองเดียวกันว่า มีมาตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นปู่แล้ว หากคำนวณอายุจะเห็นว่าร้องเล่นกันมาแล้วไม่ต่ำกว่า 150 – 200 ปี

Loading

Read more

บ้านอีต่อง “บ้านเทพเจ้าแห่งขุนเขา” อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

ประวัติความเป็นมาของชุมชน ที่มาของชื่อหมู่บ้าน “อีต่อง” เพี้ยนมาจากคำว่า “ณัตเอ่งต่อง”  โดยคำว่า “ณัต”  แปลว่าเทพเจ้าหรือเทวดา ส่วนคำว่า “เอ่ง” แปลว่า บ้าน และคำว่า “ต่อง” แปลว่า ภูเขา (ทินกร, สัมภาษณ์, 18 ตุลาคม

Loading

Read more

 ประเพณียกธงบ้านเบญพาดวัดเบญพาด ต.พังตรุ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี

ประชาชนในตำบลพังตรุเริ่มตั้งขบวนแห่ธงด้วยการทั้งพอกหน้า ทาตัว แต่งกายเป็นตัวประหลาด หรือสวมชุดสีสันสดใสในงานประเพณีโบราณของชาวตำบลพังตรุ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ที่มีทั้งสนุกสนานและเป็นการสร้างความร่วมไม้ร่วมมือในชุมชนไปในคราวเดียวกัน ซึ่งประเพณีนี้มีมากว่า 100 ปีแล้ว ประเพณียกธงของชาวบ้านเบญพาดเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาไม่ขาดสาย ชาวบ้านซึ่งมีเชื้อสายไทยทรงดำ ลาวครั่ง และลาวโซ่ง เชื่อว่าการช่วยกันยกธงในวันสงกรานต์จะทำให้คนในบ้านเมืองมีความสุข น้ำท่า ข้าวปลาอาหาร อุดมสมบูรณ์ เป็นการสร้างขวัญกำลังใจในวันปีใหม่ ถ้าปีไหนไม่ได้ยก

Loading

Read more

โรงเรียนวัดทุ่งมะกรูด ต.ดอนชะเอม อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี

โรงเรียนวัดทุ่งมะกรูด ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2481 ตั้งอยู่ในเขต หมูที่ 4 หมู่บ้านทุ่งมะกรูด ต.ดอนชะเอม อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี โดยชุมชนชาวบ้านทุ่งมะกรูดเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งขึ้นด้วยงบประมาณของชุมชน เป็นอาคารชั่วคราว ต่อมาทางราชการได้จัดสรรงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนถาวรขึ้น จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นแบบสหศึกษาตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Loading

Read more