ศูนย์วัฒนธรรม อบต.ไล่โว่ เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ของชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง

ตำบลไล่โว่ ตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรฝั่งตะวันตกมีเนื้อที่ประมาณ 1,789.23 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ป่าไม้นานาพันธุ์ มีภูเขาสูงสลับกับพื้นที่ราบ แบ่งการปกครองออกเป็น 6 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านสะเน่พ่อง บ้านกองม่องทะ บ้านเกาะสะเดิ่ง บ้านไล่โว่-ซาละวะ บ้านทิไล่ป้าและบ้านจะแก โดยชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง           องค์การบริหารส่วนตำบลไล่โว่ตระหนักถึงความสำคัญคุณค่าทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวบ้าน จึงจัดตั้ง “อาคารศูนย์วัฒนธรรมอบต.ไล่โว่

Loading

Read more

ความเป็นมาของกลุ่มชาติพันธุ์และชุมชน

กลุ่มชาติพันธุ์ไทยกะเหรี่ยงในประเทศไทย อาศัยอยู่ใน 15 จังหวัด 68 อำเภอ 2,130 หมู่บ้าน ประชากรรวม 353,574 คน (ทำเนียบชุมชนฯ 2540, น.27) กะเหรี่ยง เป็นคำเรียกของคนไทยภาคกลาง คนพม่าเรียก กะยิน (Kayin) คนพื้นเมืองภาคเหนือและไทยใหญ่เรียกว่า

Loading

Read more

บ้านกองม่องทะ ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

ประวัติความเป็นมา บ้านกองม่องทะ  หมู่ที่ ๒  ตำบลไล่โว่ ตั้งอยู่ในที่ราบระหว่างหุบเขา มีแม่น้ำรันตีไหลผ่าน พื้นที่หมู่บ้านยาวไปตามลำน้ำทั้งสองฝั่ง บ้านเรือนตั้งอยู่เป็นหย่อมๆ ต่อเนื่องกัน มีไม้ผล เช่น หมาก มะพร้าว ทุเรียน มังคุด เงาะ กล้วย ลางสาด ลองกอง

Loading

Read more

บ้านเกาะสะเดิ่ง ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

ประวัติความเป็นมา บ้านเกาะสะเดิ่ง เป็นหมู่บ้านที่กลุ่มชาติพันธุ์ไทยกะเหรี่ยง ตั้งบ้านเรือนมากกว่า ๑๖๐ ปี นับ ชุมชนเริ่มเล่าเรื่องจดจำกันมาประมาณ ปี ๒๓๘๓ เป็นอย่างน้อย ด้วยชุมชนตั้งรกรากขึ้นในช่วงเวลาใกล้เคียงกับหมู่บ้านอื่นๆ ในตำบลไล่โว่ หมู่บ้านนี้ มีต้นไม้ชื่อต้นเกาะสะเดิ่งเป็นพันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ริมห้วย รากยึดเกาะดินได้เป็นอย่างดี จึงให้ชื่อหมู่บ้านว่า“ เกาะสะเดิ่ง” ลักษณะหมู่บ้าน เป็นชุมชนขนาดเล็ก

Loading

Read more

บ้านทิไล่ป้า ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

ประวัติความเป็นมา บ้านทิไล่ป้า หมู่ที่ ๕ ตำบลไล่โว่  เป็นหมู่บ้านกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก ตั้งบ้านเรือนมานานกว่า ๑๖๐ ปี เช่นเดียวกับหมู่บ้านอื่นๆ ชื่อหมู่บ้าน “ทิไล่ป้า” หมายถึงห้วยแผ่นหิน  เป็นหมู่บ้านขนาดเล็ก ผู้คนในชุมชนเป็นเครือญาติผูกพันกันมาแต่โบราณ มีการพึ่งอาศัยกัน เป็นอยู่อย่างสงบสุข ก่อนที่จะมีการประกาศเป็นพื้นที่เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก  หมู่บ้านตั้งอยู่จากตัวอำเภอประมาณ ๕๕ 

Loading

Read more

บ้านไล่โว่-ซาลาวะ ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

 ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน บ้านไล่โว่  หมู่ที่ ๔ ตำบลไล่โว่  เป็นหมู่บ้านที่กลุ่มชาติพันธุ์ไทยกะเหรี่ยงตั้งบ้านเรือนมามากกว่า ๑๖๐ ปี (ประมาณปี ๒๓๘๓) เรียกชื่อหมู่บ้านว่า “ไล่โว่” ตามลักษณะของ“หินแดง” ขนาดใหญ่ ที่ปรากฏอยู่บน“หน้าผาชัน”มองเห็นโดดเด่นจากพื้นที่หมู่บ้าน เลยกลายเป็นลักษณะเด่นของพื้นที่ เห็นสวยงามแต่ไกล เป็นที่ชื่นชอบของผู้พบเห็น เมื่อจัดตั้งเป็นตำบลจึงได้นำชื่อ“ไล่โว่” เป็นชื่อตำบล

Loading

Read more

บุคคลสำคัญที่เป็นที่จดจำของชาวชุมชนตำบลไล่โว่

ชาวชุมชนตำบลไล่โว่ ปัจจุบันได้กล่าวถึงบุคคลสำคัญที่เป็นที่จดจำต่อๆ กันมาหลายช่วงอายุคนและพยายามศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้ลูกหลานได้รู้สึกภูมิใจในความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ได้สืบทอดและเผยแพร่ความภูมิใจสู่สังคมวงกว้างสืบไป เป็นต้นว่า พระมหากษัตริย์ไทย พะวอ พระศรีสวัสดิ์ พระศรีสุวรรณคีรี พระแม่กลอง และบุคคลอื่นที่มีคุณูปการต่อชุมชน ดังจะได้นำประวัติบุคคลสำคัญโดยสรุปของแต่ละท่านมากล่าวไว้โดยสังเขป ดังนี้ พระมหากษัตริย์ไทย พระราชบารมีพระมหากษัตริย์ไทย เป็นสิ่งร่วมสมัยที่ชุมชนจดจำและภูมิใจ เริ่มจากปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งปัจจุบัน พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณปกป้องคุ้มครองชาวไทยกะเหรี่ยงมาตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระมหากษัตริย์ในสมัยราชวงศ์จักรีทรงพระเมตตา

Loading

Read more

ประวัติความเป็นมา บ้านเวียคาดี้-โมรข่า ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

ประวัติความเป็นมา บ้านเวียคาดี้-โมรข่า หมู่ที่ ๕ ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี  ตั้งอยู่ติดเขตป่าสงวนแห่งชาติเขาช้างเผือกและเขตอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ อยู่ห่างจากแนวชายแดนไทย-พม่าประมาณ ๙ กิโลเมตร ประชากรเกือบทั้งหมดเป็นชาวกะเหรี่ยง ทั้งที่ถือบัตรประชาชนคนไทยและบัตรแสดงสถานะบุคคลบนพื้นที่สูง(บัตรสี) บรรพบุรุษอพยพโยกย้ายถิ่นฐานมาจากประเทศพม่าเข้ามาตั้งรกรากอยู่ในประเทศไทยเมื่อประมาณ ๒๐๐ กว่าปีก่อน (สันนิษฐานว่ามีการก่อตั้งหมู่บ้านมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๔๘) แต่เดิมชาวบ้านทำมาหากินอยู่กับป่า ทำไร่หมุนเวียน

Loading

Read more

สิ่งศักดิ์สิทธิ์ชุมชนของชาวชุมชนตำบลไล่โว่

พระแก้วขาว ชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่วิจัย เรียกพระแก้วองค์นี้ว่า “ไจ่เม่อไน” หมายถึง “พระพุทธรูปแก้วองค์งาม” เป็นศูนย์รวมความศรัทธา ความเคารพนับถือ เป็นที่พึ่งสำคัญยิ่งของคนพื้นที่วิจัย ทั้งยามสุขและยามทุกข์ ทั้งยังเป็นหลักฐานแห่งเกียรติยศ ศักดิ์ศรี และความภูมิใจของกลุ่มชาติพันธุ์ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานไว้ ในโอกาสที่ชาวไทยกะเหรี่ยงได้ช่วยเหลือราชการแผ่นดินด้วยความจงรักภักดีมาตลอด ซึ่งเล่าสืบต่อกันมาว่า พระองค์ทรงพระราชทานให้พระศรีสุวรรณคีรี เมื่อครั้งร่วมพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา

Loading

Read more

ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฑัณฑิกา  ศรีโปฎก  ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีเล็งเห็นความสำคัญของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และความจำเป็นในการจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี เพื่อเป้นศูนย์ระดับท้องถิ่นทำงานเป็นเครือข่ายกับศูนย์อาเซียนศึกษาแห่งประเทสไทย และสถาบันอุดมศึกษาในประเทศสมาชิกอาเซียน เป็นแหล่งเรียนรู้และการศึกษาวิจัยที่เป็นประโยชน์ในการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอเซียนในปี พ.ศ. 2558 และเป็นแหล่งข้อมูลเพื่อการตัดสินใจด้านธุรกิจ การศึกษา การวิจัย ด้านสังคมและวัฒนธรรม นอกจากนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรียังตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการเชื่อมโยงทางการค้าระหว่างตะวันตกกับตะวันออก (East –

Loading

Read more