สิ่งศักดิ์สิทธิ์ชุมชนของชาวชุมชนตำบลไล่โว่

พระแก้วขาว ชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่วิจัย เรียกพระแก้วองค์นี้ว่า “ไจ่เม่อไน” หมายถึง “พระพุทธรูปแก้วองค์งาม” เป็นศูนย์รวมความศรัทธา ความเคารพนับถือ เป็นที่พึ่งสำคัญยิ่งของคนพื้นที่วิจัย ทั้งยามสุขและยามทุกข์ ทั้งยังเป็นหลักฐานแห่งเกียรติยศ ศักดิ์ศรี และความภูมิใจของกลุ่มชาติพันธุ์ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานไว้ ในโอกาสที่ชาวไทยกะเหรี่ยงได้ช่วยเหลือราชการแผ่นดินด้วยความจงรักภักดีมาตลอด ซึ่งเล่าสืบต่อกันมาว่า พระองค์ทรงพระราชทานให้พระศรีสุวรรณคีรี เมื่อครั้งร่วมพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา

Loading

Read more

ประเพณีกินข้าว (บึงต้งคู้) กะเหรี่ยง ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

          ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก ร่วมกันทำบุญงานประเพณีบุญข้าวใหม่ บริเวณวัดบ้านจะแก ซึ่งเป็นงานบุญสำคัญหลังเสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าว โดยพิธีเริ่มด้วยการร่วมกันทำบุญตักบาตรข้าวสุก ซึ่งเป็นข้าวใหม่ที่ได้จากการทำไร่ในปีนี้ ถวายแด่พระสงฆ์ เพื่อตอบแทนบุญคุณพระแม่โพสพ หลังเสร็จพิธีผู้ที่มาร่วมงานจะไปรวมตัวกันที่ลานพิธีงานบุญข้าวใหม่ ซึ่งทำด้วยไม้ไผ่เป็นทรง 4 เหลี่ยมจัตุรัส มีซุ้มประตูทางเข้าทั้ง 4 ทิศ

Loading

Read more

กาญจนบุรีประเพณีสงกรานต์ชาวไทยเชื้อสายกระเหรี่ยงเริ่มแล้วที่กลางป่าทุ่งใหญ่นเรศวรตักทรายก่อเจดีย์ช่วยต่ออายุตามความเชื่อแต่โบราณ

          ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงเตรียมสถานที่จัดงานประเพณีสงกรานต์ ที่วัดสะเนพ่อง หมู่ที่ 1 ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีการทำความสะอาดบริเวณโดยรอบวัดซึ่งจะทำความสะอาดปีละครั้งในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ชาวบ้านบางส่วนเริ่มไปตักทรายจากริมแม่น้ำโรคี่ มาเพื่อใช้ก่อเจดีย์ทราย ตามคติความเชื่อที่สืบทอดต่อกันมา การตักทรายโดยใช้ช้อนหรือกำด้วยมือ จำนวนทรายที่จะนำมาก่อเจดีย์ต้องมากกว่าอายุคนตัก 1-2 กำ เช่น อายุ 30

Loading

Read more

บ้านโคก”ลาวครั่ง มนต์ขลังแห่ง“ผี” อวดวิถี“จักรยานโบราณ”

 “ชาติพันธุ์ลาวครั่ง        งานหอฯกลางเดือนเจ็ด อาชีพเกษตรกรรม                 วัฒนธรรมงานบวช สิ่งอยากอวดจักรยานโบราณ     แห่ธงสงกรานต์ยิ่งใหญ่”           นี่คือคำขวัญประจำหมู่บ้าน“โคก” หมู่บ้านชื่อสั้นๆที่หากใครได้ลองไปสัมผัสกับวิถีชุมชนที่นี่แบบไม่ฉาบฉวย ก็จะพบว่าบ้านโคกมีหลายสิ่งหลายอย่างน่าสนใจให้ชวนค้นหากันไม่น้อยเลย  บ้านโคก ลาวครั่ง           หมู่บ้านโคก หรือ “บ้านโคก”(หมู่ 3) ตั้งอยู่ใน ต.อู่ทอง อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี

Loading

Read more

ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง 3 อำเภอในเมืองกาญจนบุรีร่วมงานมหาสงกราตน์กลางป่าทุ่งใหญ่

              ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง 3 อำเภอในกาญจนบุรี “สังขละบุรี ทองผาภูมิ และศรีสวัสดิ์” หลั่งไหลร่วมงานประเพณีมหาสงกรานต์ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร

Loading

Read more

การสวดพระมาลัยของชาวบ้านตำบลดอนแสลบ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี

การสวดพระมาลัยของชาวบ้านตำบลดอนแสลบ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี เป็นประเพณีเกี่ยวกับวิถีชีวิตในเรื่องของการตาบ การสวดพระมาลัยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อการอยู่เป็นเพื่อนเจ้าภาพเมื่อพระสงฆ์ได้ทำการสวดพระอภิธรรมศพเสร็จสิ้นแล้ว ทำให้งานศพไม่เงียบเหงา เจ้าบ้านหรือญาติของผู้ตายไม่ต้องเศร้าโศกจนเกินไปหากจะนั่งหรือนอนกันเฉยๆ จะทำให้งานศพเงียบเหงา หรือการเล่นการพนันจะไม่เหมาะสม จึงคิดหาวิธีทำให้งานศพไม่เงียบเหงา โดยจัดให้มีการสวดพระมาลัยขึ้น ในการสวดพระมาลัยเริ่มต้นจากการตั้งวงมาเพื่ออ่านหนังสือพระมาลัย (เป็นกวีนิพนธ์ซึ่งร้อยกรองเพื่อการนี้โดยเฉพาะ) ส่วนใหญ่เป็นการประพันธ์แบบกาพย์กลอนในขั้นแรกนั้นการสวดพระมาลัยคงยึดเค้าเรื่องพระมาลัยจริงๆ ซึ่งเนื้องเรื่องมี ดังนี้ พระมาลัยเป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งมีฤทธิ์มากเคบไปโปรดสัตว์ในนรกและเทศสั่งสอนประชาชนทั่วไปให้ปฏิบัติดีเพื่อหลีกเลี่ยงนรก วันหนึ่งพระมาลัยรับดอกบัวจากชายคนหนึ่ง พระมาลัยนำดอกบัวไปบูชาพระเจดีย์จุฬามณีในวรรค์ชั้นดาวดึงส์และได้สนาทนากับพระอินทร์และได้ถามพระอินทร์ถึงเรื่องการประกอบกรรมดี

Loading

Read more

การตั้งศาลชุมชนบ้านหนองขาว

ความเชื่อในความคิดของชุมชนบ้านหนองขาว ความเชื่อของชุมชนตำบลหนองขาวจังหวัดกาญจนบุรีที่ผ่านมานั้นมีการบอกเล่าจากคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้านถึงเรื่องการตั้งศาลของเจ้าพ่อ เจ้าแม่ และมีการถ่ายทอดเรื่องราวจากรุ่นลูกรุ่นหลานต่อๆ กันมาเกี่ยวกับเรื่องผีสางเทวดาอย่างฝังแน่นไว้ในจิตใจของชาวบ้านจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิต เวลามีเหตุการณ์เกิดขึ้นในหมู่บ้านและเป็นเหตุการณ์ที่ไม่สามารถมีคำอธิบายหรือเวลาที่ชาวบ้านขาดที่ยึดเหนี่ยวจิตใจก็จะหันมาพึ่งศาลประจำหมู่บ้านเพื่อตั้งจิตอธิฐานเพื่อบนบานสานกล่าวขอให้ศาลช่วยเหลือ เพราะชาวบ้านในชุมชนมีความเชื่อมั่นว่าเมื่อกล่าวคำขอกับศาลประจำหมู่บ้านแล้วจะทำให้สิ่งที่ของประสบความสำเร็จหรือปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นจะคลี่คลายไปในทางที่ดีหรือหายไปได้   ศาลในความเชื่อของชาวหนองขาว ศาลแรกที่เกิดขึ้นในชุมชนหนองขาวคือ ศาลเจ้าพ่อแม่ ช่วงเวลาในการก่อตั้งไม่มีใครทราบรู้แต่ว่ามีมาตั้งแต่บรรพบุรุษแล้ว จากการสอบถามข้อมูลจากชาวบ้านและพ่อแม่ขณะประทับร่างทรงอยู่ท่านได้บอกว่าศาลเจ้าพ่อแม่เกิดจากพ่อแม่ไปเข้าฝันคนจีนที่มีฐานะดีให้มาช่วยสร้างศาลให้  ดังนั้นคนจีนจึงได้ทำการรวบรวมเงินกันมาก่อสร้างศาลเจ้าพ่อแม่โดยมีเป็นศาลไม้ขนาดใหญ่ที่มีลักษณะเป็นทรงเรือนไทยยกพื้นสูงเท่าเอวและมีตัวอักษรภาษาจีนที่ได้สักไว้ที่ตัวไม้ของศาล จนเมื่อ พ.ศ. 2536 ผู้ใหญ่เพียนและชาวบ้านช่วยกันออกเงินคนละ 5

Loading

Read more

บวชนาคไทยแท้บ้านหนองขาว เมืองกาญจน์

ชาวมอญเป็นผู้ที่มีความรู้ทางศาสนาและประเพณี มีการบันทึกความรู้วิทยาการต่างๆ ทั้งเรื่องศาสนา ประเพณีวัฒนธรรม ประวัติสถานที่ บุคคล ตลอดจนวรรณคดีและตำราต่างๆ ลงในคัมภีร์ใบลานและสมุดข่อย ปรากฎให้เห็นทั่วไปตามวัดต่างๆ เอกสารเหล่านี้ช่วยในการบอกเล่าประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตลอดจนภูมิปัญญาได้อย่างดี ดังพบว่าคัมภีร์ใบลานเก่าสุดของวัดม่วงระบุว่าจารที่วัดม่วง พ.ศ. 2181 ตรงกับรัชกาลสมเด็จพระเจ้าประสาททองในสมัยอยุธยา การอพยพของชาวมอญสู่ไทยนั้นมีการเข้ามาหลายระลอก และทุกครั้งทางการไทยก็ให้การต้อนรับพร้อมจัดตั้งให้อยู่ในไทยอย่างดี เนื่องจากชาวมอญเป็นกำลังสำคัญในการช่วยไทยรบกับพม่าเสมอมา นับตั้งแต่สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยกรุงเทพฯ

Loading

Read more

ภูมิปัญหาความเชื่อเกี่ยวเรื่องหม้อตาหม้อยายของชุมชนหนองขาวจังหวัดกาญจนบุรี

คนบ้านหนองขาว อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี เชื่อกันว่าพวกตนเป็นคนไทยแท้แต่โบราณ ไม่ได้อพยพมาจากไหน อยู่อาศัยกันมาที่นี่แต่โบราณ อย่างน้อยก็ตั้งแต่สมัยอยุธยา เป็นคนไทยที่ไม่มีเชื้อสายคนชาติใดปน ในขณะที่นักวิชาการระบุว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีเชื้อมอญ เพราะสำเนียงพูดเหน่อต่ำต่างจากคนท้องถิ่นเมืองกาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี หรือนครปฐม ที่ต่างก็เหน่อไปคนละแบบ รวมทั้งความเชื่อเรื่องหม้อตาหม้อยาย ที่คล้ายกับความเชื่อเรื่องผีบรรพชนของมอญ สอดคล้องกับพระครูถาวรกาญจนนิมิต (จีระศักดิ์ อึ้งตระกูล) อดีตเจ้าอาวาสวัดอินทาราม

Loading

Read more

ประเพณีสงกรานต์แห่ปราสาทผึ้ง

ความเป็นมาและความเชื่อ ประเพณีแห่ปราสาทผึ้งเป็นประเพณีนิยมที่ทำกันมาแต่โบราณด้วยเหตุผลหรือคติที่ว่าเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่อตั้งความปรารถนาไว้ หากเกิดในภพมนุษย์ขอให้มีปราสาทราชมณเฑียรอาศัยอยู่ด้วยความมั่งมีศรีสุข ถ้าเกิดในสวรรค์ขอให้มีปราสาทอันสวยงามมีนางฟ้าแวดล้อมเป็นบริวารจำนวนมาก และเพื่อรวมพลังสามัคคีทำบุญทำกุศลร่วมกันพบประสนทนากันฉันท์พี่น้อง และเพื่อเป็นการประกาศหลักศีลธรรมทางบุญทางกุศลให้ปรากฏ ประเพณีแห่ปราสาทผึ้งเป็นประเพณีที่ชาวบ้านตำบลหนองปรือ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านานแล้วสันนิษฐานว่าเกิดขึ้นหลังจากที่ได้มีการก่อตั้งวัดหนองปรือซึ่งก่อตั้งมาประมาณ 60 ปีเศษชาวบ้านหนองปรือ ดั้งเดิมส่วนใหญ่เป็นชนชาวลาวและมีชนชาวเผ่ากระเหรี่ยงอยู่บ้างเป็นส่วนน้อย สำหรับชนชาวลาวที่อาศัยอยู่ในอำเภอหนองปรือจะสืบเชื้อสายมาจากนครเวียงจันทน์ เมืองหลวงของประเทศลาวสมัยนั้นมีข่าวเล่ากันว่านครเวียงจันทน์แตก เพราะถูกข้าศึกรุกรานผู้คนจึงอพยพหนีไปคนละทิศละทาง ส่วนหนึ่งของชนชาวลาวที่หนีข้ามแม่น้ำโขงเข้ามาทางฝั่งไทยและพากันอพยพลงมาเรื่อยๆ และปักหลักสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยส่วนหนึ่งได้พากันมาตั้งบ้านเรือนขึ้นที่บ้านหนองปรือ ตำบลหนองปรือ

Loading

Read more