ประวัติบ้านหนองย่างช้าง ตำบลบ่อพลอย อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี

  ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านหนองย่างช้าง ที่มาของชื่อหมู่บ้าน/ชุมชน เมื่อสมัย ปู่ ย่า ตา ทวด เล่าให้ฟังว่าหมู่บ้านนี้ เคยเป็นทางผ่านของโคลงช้างที่ต้องเดินทางไป มา ซึ่งในหมู่บ้านนี้จะมีหนองน้ำใหญ่ อยู่หนองหนึ่ง จึงทำให้ช้างที่ผ่านไปมา ต้องหยุดพักที่หนองน้ำนี้จึงเรียกชื่อหมู่บ้านหนองยั่งช้าง แต่พอเวลาผ่านมาหลาย ๆ ปีก็เปลี่ยนมาเป็น หมู่บ้านหองย่างช้าง จนถึงทุกวันนี้เริ่มก่อตั้งในปี

Loading

Read more

การสวดพระมาลัยของชาวบ้านตำบลดอนแสลบ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี

การสวดพระมาลัยของชาวบ้านตำบลดอนแสลบ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี เป็นประเพณีเกี่ยวกับวิถีชีวิตในเรื่องของการตาบ การสวดพระมาลัยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อการอยู่เป็นเพื่อนเจ้าภาพเมื่อพระสงฆ์ได้ทำการสวดพระอภิธรรมศพเสร็จสิ้นแล้ว ทำให้งานศพไม่เงียบเหงา เจ้าบ้านหรือญาติของผู้ตายไม่ต้องเศร้าโศกจนเกินไปหากจะนั่งหรือนอนกันเฉยๆ จะทำให้งานศพเงียบเหงา หรือการเล่นการพนันจะไม่เหมาะสม จึงคิดหาวิธีทำให้งานศพไม่เงียบเหงา โดยจัดให้มีการสวดพระมาลัยขึ้น ในการสวดพระมาลัยเริ่มต้นจากการตั้งวงมาเพื่ออ่านหนังสือพระมาลัย (เป็นกวีนิพนธ์ซึ่งร้อยกรองเพื่อการนี้โดยเฉพาะ) ส่วนใหญ่เป็นการประพันธ์แบบกาพย์กลอนในขั้นแรกนั้นการสวดพระมาลัยคงยึดเค้าเรื่องพระมาลัยจริงๆ ซึ่งเนื้องเรื่องมี ดังนี้ พระมาลัยเป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งมีฤทธิ์มากเคบไปโปรดสัตว์ในนรกและเทศสั่งสอนประชาชนทั่วไปให้ปฏิบัติดีเพื่อหลีกเลี่ยงนรก วันหนึ่งพระมาลัยรับดอกบัวจากชายคนหนึ่ง พระมาลัยนำดอกบัวไปบูชาพระเจดีย์จุฬามณีในวรรค์ชั้นดาวดึงส์และได้สนาทนากับพระอินทร์และได้ถามพระอินทร์ถึงเรื่องการประกอบกรรมดี

Loading

Read more

อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี

ด่านมะขามเตี้ยมีการตั้งหมู่บ้านมานานกว่า 200 ปี สมัยก่อนเป็นด่านตรวจคนเข้าออกตามชายแดนของอำเภอเมืองกาญจนบุรี ยามปกติราษฎรใช้เป็นเส้นทางสัญจรไปมา เมื่อเกิดศึกสงครามเก้าทัพ “ขุนด่าน ” พร้อมด้วยทหารไทยที่ประจำด่านได้ต่อสู้กับทหารพม่ามีผู้คนล้มตายจำนวนมาก และบริเวณนี้มีต้นมะขามมากแต่มีมะขามอยู่ต้นหนึ่งที่มีขนาดลำต้นเตี้ยและขึ้นโดดเด่นสวยงาม แผ่กิ่งก้านงอกงามร่มรื่นอยู่ใกล้บริเวณหนองน้ำใหญ่ (จึงเรียกว่าหนองสระ) เป็นที่อาศัยของสัตว์ใหญ่น้อยนานาชนิด เมื่อตั้งหมู่บ้านจึงเรียกว่าบ้านหนองมะขามเตี้ย ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น บ้านด่านมะขามเตี้ย อำเภอด่านมะขามเตี้ยนั้นแต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอเมืองกาญจนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2533

Loading

Read more

อำเภอเมืองสุพรรณบุรี

จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นเมืองโบราณ พบหลักฐานทาง โบราณคดี มีอายุไม่ต่ำกว่า 3,500 – 3,800 ปี โบราณวัตถุที่ขุดพบมีทั้งยุคหินใหม่ ยุคสัมฤทธิ์ ยุคเหล็ก และสืบทอดวัฒนธรรมต่อเนื่องมาตั้งแต่ สมัยสุวรรณภูมิ ฟูนัน อมราวดี ทวารวดี ศรีวิชัย สุพรรณบุรี เดิมมีชื่อ “ทวารวดีศรีสุพรรณภูมิ

Loading

Read more

ประวัติอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

อู่ทองเมืองโบราณ ต้นกำเนิดประวัติศาสตร์ อารยธรรมสุวรรณภูมิ ครอบคลุมพื้นที่ทั้งตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี มีหลักฐานทางโบราณคดีที่สันนิษฐานได้ว่า เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรทวาราวดีและเป็นศูนย์กลางของดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของชนชาติพันธุ์ต่าง ๆ ก่อนจะหลอมรวมเป็นชาติไทยในปัจจุบัน เมืองโบราณอู่ทองตั้งอยู่ในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งอยู่ริมลำน้ำจระเข้สามพัน ผังเมืองเป็นรูปวงรี ทอดตัวไปตามแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ มีขนาดความกว้างประมาณ 1

Loading

Read more

ประวัติความเป็นมาอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี

          อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2440  ปีสมัยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย  มีเจ้าพระยาศรีวิชัยชนินทรเป็นสมุหเทศาภิบาล  พระสมุทรคณานุรักษ์  เป็นข้าหลวงประจำจังหวัดสุพรรณบุรี  และมีนายชิตเป็นนายอำเภอบางปลาม้าคนแรก ที่มาของชื่อ “อำเภอบางปลาม้า”จากการสอบถามผู้อาวุโส และผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ความว่า เดิมบริเวณลุ่มน้ำท่าจีน ตั้งแต่ตอนใต้ตลาดเก้าห้องลงมาจนถึงค้งตาเพชร ตำบลวังตาเพชร  เป็นลุ่มน้ำ น้ำในห้วยหนอง คลอง

Loading

Read more

ประวัติความเป็นมาของตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

หนองลู เป็นภาษากระเหรี่ยงเรียกว่า นุ่งลู่ หมายถึง ต้นไม้ชนิดหนึ่งซึ่งอยู่ในตระกูลต้นตาลลักษณะใบตรงโคนแคบ ตรงปลายขยายออกใหญ่ นำมาใช้มุ่งหลังคาบ้านของชาวกระเหรี่ยง ขึ้นตาบริเวณหนอง ทางจังหวัดชลบุรีเรียกว่าต้นก้อ ฉะนั้นคำว่าหนองลู หรือนุ่งลู่ หมายถึงต้นค้อ หรือต้นก้อที่ขึ้นอยู่ตามริมหนองตามประวัติศาสตร์ ตำบลหนองลู ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า ตั้งขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. ใด ตามตำนานคำบอกเล่าขานของผู้เฒ่าผู้แก่และผู้ใหญ่ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ ได้เล่าวว่า

Loading

Read more

ประวัติความเป็นมาหมู่บ้านห้วยกระเจา

ตำบลห้วยกระเจา แต่เดิมขึ้นกับอำเภอพนมทวน เป็นตำบลที่เกิดขึ้นปลายรัชกาลที่ 6 โดยมีนายปั้น ใคร่ครวญ หรือขุน “กระเจา เจนเขต” เป็นกำนันคนแรกของตำบลห้วยกระเจา ต่อมาได้มีประกาศของกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2537 (พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) โดยแบ่งพื้นที่ของอำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ตั้งเป็นกิ่งอำเภอห้วยกระเจา

Loading

Read more

การตั้งศาลชุมชนบ้านหนองขาว

ความเชื่อในความคิดของชุมชนบ้านหนองขาว ความเชื่อของชุมชนตำบลหนองขาวจังหวัดกาญจนบุรีที่ผ่านมานั้นมีการบอกเล่าจากคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้านถึงเรื่องการตั้งศาลของเจ้าพ่อ เจ้าแม่ และมีการถ่ายทอดเรื่องราวจากรุ่นลูกรุ่นหลานต่อๆ กันมาเกี่ยวกับเรื่องผีสางเทวดาอย่างฝังแน่นไว้ในจิตใจของชาวบ้านจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิต เวลามีเหตุการณ์เกิดขึ้นในหมู่บ้านและเป็นเหตุการณ์ที่ไม่สามารถมีคำอธิบายหรือเวลาที่ชาวบ้านขาดที่ยึดเหนี่ยวจิตใจก็จะหันมาพึ่งศาลประจำหมู่บ้านเพื่อตั้งจิตอธิฐานเพื่อบนบานสานกล่าวขอให้ศาลช่วยเหลือ เพราะชาวบ้านในชุมชนมีความเชื่อมั่นว่าเมื่อกล่าวคำขอกับศาลประจำหมู่บ้านแล้วจะทำให้สิ่งที่ของประสบความสำเร็จหรือปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นจะคลี่คลายไปในทางที่ดีหรือหายไปได้   ศาลในความเชื่อของชาวหนองขาว ศาลแรกที่เกิดขึ้นในชุมชนหนองขาวคือ ศาลเจ้าพ่อแม่ ช่วงเวลาในการก่อตั้งไม่มีใครทราบรู้แต่ว่ามีมาตั้งแต่บรรพบุรุษแล้ว จากการสอบถามข้อมูลจากชาวบ้านและพ่อแม่ขณะประทับร่างทรงอยู่ท่านได้บอกว่าศาลเจ้าพ่อแม่เกิดจากพ่อแม่ไปเข้าฝันคนจีนที่มีฐานะดีให้มาช่วยสร้างศาลให้  ดังนั้นคนจีนจึงได้ทำการรวบรวมเงินกันมาก่อสร้างศาลเจ้าพ่อแม่โดยมีเป็นศาลไม้ขนาดใหญ่ที่มีลักษณะเป็นทรงเรือนไทยยกพื้นสูงเท่าเอวและมีตัวอักษรภาษาจีนที่ได้สักไว้ที่ตัวไม้ของศาล จนเมื่อ พ.ศ. 2536 ผู้ใหญ่เพียนและชาวบ้านช่วยกันออกเงินคนละ 5

Loading

Read more

ประวัติตำบลทุ่งสมอ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี

ประวัติความเป็นมา ที่มาของทุ่งสมอมี 3 สมมติฐานที่เช้าขานสืบต่อกันมา ซึ่งสมมติฐานที่ 1 เป็นเรื่องราวเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของสมัยสงครามยุทธหัตถี สมเด็จพระนเรศวรกระทำยุทะหัตถีกับพระมหาอุปราชาบริเวณทุ่งหนองสาหร่าย (ปัจจุบันอยู่ในเขต ตำบลดอนเจดีย์ ตำบลทุ่งสมอ ตำบลหนองสาหร่าย) มีคนเจ็บและคนตายจำนวนมาก บริเวณที่ตั้งตำบลในปัจจุบันเป็นที่ตั้งค่ายของหมอจึงเรียกว่าโรงหมอ และเพี้ยนมาเป็นทุ่งสมอในปัจจุบัน สมมติฐานที่ 2 เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติที่ว่าบริเวณที่ตั้งของตำบลปัจจุบันเป็นท้องทุ่งมีต้นสมอขึ้นเรียงรายเป็นจำนวนมาก คนจึงเรียกว่าเป็นบ้านทุ่งต้นสมอ ต่อมาเหลือเพียงสั้นๆ

Loading

Read more